Page 49 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 49

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                  ส่วนเสียที่ได้รับจากช่องทางต่าง ๆ ไว้บนเว็บไซต์เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ศึกษา จากการรวบรวมสถิติการจัดการ
                  เรื่องร้องเรียนด้านการทุจริต และดำเนินการแก้ไขซึ่งเป็นผลให้จำนวนข้อร้องเรียนการทุจริตมีแนวโน้มลดลง
                  คือ จากปี 2561 ซึ่งมีจำนวนถึง 8 เรื่อง ลดลงเป็นจำนวน 1 เรื่องในปี 2562 จำนวน 3 เรื่องในปี 2563 และ

                  ในปี 2564 และในปี 2565 จำนวน 1 เรื่อง พด. มีการประเมินผลและปรับปรุงวิธีการรับฟังและเรียนรู้ความ
                  ต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งการประเมินประสิทธิภาพของช่องทางการรับฟังและ
                  เรียนรู้ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสม่ำเสมอ ผลการสำรวจระดับความพึง
                  พอใจของบุคลากรที่มีต่อความเหมาะสมและเพียงพอของโปรแกรมร้องเรียนร้องทุกข์ทาง Internet ของ
                  พด. ในแต่ละปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

                  ผลลัพธ์สำคัญในหมวด 7 ที่เป็นผลจากการดำเนินงานของหมวด 3
                         พด. ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นประจำทุกปี เพื่อนำผลมา
                  ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้บริการให้สามารถตอบสนองของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้
                  เกินความคาดหวัง โดยในปี 2564 ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่องานบริการของ พด.เพิ่มขึ้นร้อยละ 91.49
                  พด. นำผลการประเมินดังกล่าวมาวิเคราะห์และปรับปรุงการทำงานก่อให้เกิดนวัตกรรม และสร้างความ
                  ผูกพันของผู้รับบริการทั้งปรับรูปหลักสูตรและวิธีการอบรมหมอดินอาสาซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน
                  งานพัฒนาที่ดิน ปรับวิธีการบริหารจัดการให้บริการเชิงรุกแก่เกษตรกรรายแปลงผ่านบัตรดินดีซึ่งเป็นบัตร

                  ประจำตัวดินของแปลงเกษตรกรที่มอบให้แก่เกษตรกรเฉพาะราย โดยมีเจ้าหน้าที่และหมอดินลงพื้นที่
                  ติดตามให้คำแนะนำการจัดการดินอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562-2564 มีเกษตรกรได้รับบัตรดินดีรวม
                  302,850 ราย จากการที่ พด. ให้บริการส่งเสริมการใช้สารอินทรย์ลดใช้สารเคมีทางการเกษตร โดย
                  สนับสนุนผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ให้กับเกษตรกร ซึ่งพบว่ามีผู้รับบริการมาขอรับบริการจำนวนมาก ทำให้ พด.
                  ต้องผลิตผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์จำนวนมากขึ้นทุกปี และพัฒนาผลิตภัณฑ์ พด.13 ที่มีความเจาะจงชนิดพืชมาก
                  ขึ้น นอกจากนี้ พด.ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การตรวจสอบดินเพื่อ
                  การเกษตร ส่งผลให้ลดระยะเวลาการให้บริการลงร้อยละ 64 และลดขั้นตอนการให้บริการร้อยละ 80 การ
                  ตรวจสอบแนวเขตป่าไม้ถาวรเฉพาะราย พัฒนาระบบบริการข้อมูลและแผนที่ป่าไม้ถาวรออนไลน์ ส่งผลให้
                  สามารถให้บริการได้เพิ่มขึ้น โดยในปี 2564 ให้บริการได้ถึง 2,083 ราย เป็นต้น และผลจากการรณรงค์
                  ส่งเสริมจริยธรรมและสร้างความโปร่งใสทั้งการให้ความรู้สร้างความเข้าใจการปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม
                  ระเบียบและกฎหมาย กำหนดมาตรการ และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงาน ทำให้จำนวนเรื่อง

                  ร้องเรียนของ พด. ลดลงร้อยละ 53 จากปี 2563 จำนวน 54 เรื่อง และในปี 2554 เหลือจำนวน 29 เรื่อง
                  หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
                  4.1 การใช้ข้อมูลในการกำหนดตัววัดเพื่อติดตามงาน และการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ
                         พด. มีวิธีการเลือก รวบรวมข้อมูล ตัวชี้วัดที่สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันด้วยการบูรณาการ

                  ยุทธศาสตร์และสารสนเทศที่สาคัญของ พด. โดยมีกรอบระยะเวลาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
                  สังคมแห่งชาติ มีกระบวนการจัดทำอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้พัฒนาปรับปรุงต่อ
                  ยอดกระบวนการให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยมีหลักใช้การวิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ด้วย
                  กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้รับบริการกลุ่มต่างๆ ทั้งใน

                  สังกัด พด. ในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ขั้นการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ เป็นการ
                  ทบทวนบริบทขององค์การ วิเคราะห์ข้อมูลและสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การที่จะส่งผลถึงการ
                  ทำงานในอนาคตเพื่อกำหนดเป็นทิศทางที่องค์การจะมุ่งไปในระยะเวลาห้าปีข้างหน้า โดยใช้เครื่องมือ 6Cs

                  Analysis ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์การ การระบุผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แท้จริงของ
                  องค์การ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขันขององค์การ การวิเคราะห์กฎ ระเบียบ กติกา ที่
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54