Page 44 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                  ในปีงบประมาณ 2564 จนถึงปัจจุบัน (9 มีนาคม 2565) พบว่ามีผู้ขอรับบริการรายเดิม กลับมารับบริการซ้ำ

                  อีก จำนวน 2,566 รายจาก 3,681 ราย (ร้อยละ 69.71) โดยมีทั้งการขอข้อมูลลักษณะเดิมในพื้นที่ใหม่ หรือ
                  ขอข้อมูลที่ให้บริการในรูปแบบอื่น ๆ ทำให้มีแนวคิดที่จะขยายผลด้วยการนำข้อมูลอื่น ๆ ที่ พด. ผลิต มา
                  ให้บริการเพิ่มเติม
                        AI Chatbot : คุยกับน้องดินดี เป็นการพัฒนาการบริการ ตอบข้อซักถาม ผลิตภัณฑ์ การบริการ ใน
                  รูปแบบ AI Chatbot : คุยกับน้องดินดี ได้นำข้อมูลความต้องการของผู้รับบริการที่สนใจแต่ละหมวดหมู่มา
                  วิเคราะห์ ประมวลผลเพื่อนำไปปรับปรุงชุดข้อมูลให้ตรงกับความต้องการและนำไป Train AI Chatbot : คุย
                  กับน้องดินดี ให้มีความถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น และรวบรวมความต้องการของผู้รับบริการเพื่อตอบคำถามและ
                  ให้บริการเฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคล (Personalized Service)  นำไปต่อยอดปรับปรุงงานบริการและ

                  ขับเคลื่อนงานตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของ พด. และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำไปใช้ในการพัฒนา
                  Big Data ของ พด. ต่อไป ซึ่งจากการสำรวจความพึงพอใจการใช้งาน AI Chatbot : คุยกับน้องดินดี  ระหว่าง
                  วันที่ 19 มกราคม – 1 เมษายน 2565 ซึ่งมีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 295 ราย มีผลประเมินความพึงพอใจ
                  โดยรวมเกี่ยวกับการให้บริการ คิดเป็นร้อยละ 83.97 ผู้ตอบแบบสำรวจฯ นำข้อมูลที่ได้จากน้องดินดีไปใช้
                  ประโยชน์ในหลายด้าน ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 69.83) นำข้อมูลที่ได้จากน้องดินดีไปใช้ประกอบการปฏิบัติงาน รอง
                  ลงไป นำไปใช้ทำการเกษตร/วางแผนการใช้ที่ดิน (ร้อยละ 63.39) และ นำไปใช้ประกอบการศึกษา/วิจัย (ร้อยละ
                  19.66) ตามลำดับ  และจากข้อมูลผู้ใช้บริการ AI Chatbot : คุยกับน้องดินดี รวมทั้งสิ้น 6,582 ราย (สำรวจ
                  ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2563 จนถึงปัจจุบัน) พบว่า มีผู้ใช้บริการรายเดิม กลับมาใช้บริการซ้ำอีก จำนวน
                  3,953 ราย (ร้อยละ 60.06)
                        โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นการบูรณาการข้อมูล
                  พื้นฐานเชิงพื้นที่ด้านการเกษตรจากทุกหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานงานอื่นๆ ที่

                  เกี่ยวข้อง และจัดทำแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) และพัฒนาแผนที่ Agri-Map ให้
                  สามารถใช้งานได้จากทุกพื้นที่ทุกเวลา ผ่านApplication หรือใช้งานผ่านเว็บไซต์ พด. หรือใช้งานผ่าน URL
                  ข้อมูลดังกล่าวใช้ประกอบการวางแผนด้านการผลิตสินค้าเกษตรภายในพื้นที่ ทำให้สามารถบริหารจัดการ
                  สินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับสภาพความเหมาะสมของปัจจัยการผลิตและการตลาดในพื้นที่ได้อย่างดี
                  นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชแต่ละชนิด เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี
                  2559 จนถึงปัจจุบัน การดำเนินการช่วงแรกผลงานยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจ
                  การเกษตรได้ประเมินผลโครงการและมีข้อเสนอแนะให้ พด. ควรส่งเสริมเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายศึกษาดูผล
                  การปรับเปลี่ยนการผลิตที่ประสบความสำเร็จแล้ว พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงรายได้และผลตอบแทนการผลิต
                  จากการปรับเปลี่ยนอย่างชัดเจน เพื่อจูงใจให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ดังนั้น พด. จึงปรับวิธีการทำงาน

                  โดยจัดทำแปลงสาธิตจุดเรียนรู้เพื่อให้เกษตรกรเห็นผลลัพธ์จากการดำเนินงาน และสร้างกระบวนการมีส่วน
                  ร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาการผลิตไปจนถึงการหาตลาด ร่วมขับเคลื่อนให้
                  เกษตรกรสามารถผลิตและจำหน่ายสินค้าและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ส่งผลให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่
                  ที่ดีขึ้น เกษตรกรในพื้นที่ข้างเคียงได้เห็นผลสำเร็จ จึงสมัครเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก ผลงานในปี
                  2563 สามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายและมีผลงานสูงกว่าเป้าหมาย
                        การให้บริการแผนที่และข้อมูลทางแผนที่ พด. ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้
                  ดำเนินการกำกับ ดูแล ในด้านการจัดทำ การผลิต การจัดเก็บ และการให้บริการแผนที่และข้อมูลทางแผนที่
                  ซึ่งเป็นผลผลิตของโครงการจัดทำแผนที่เพื่อการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สินของกระทรวงเกษตร
                  และสหกรณ์ ได้แก่ ภาพถ่ายทางอากาศสีเชิงเลข มาตราส่วน 1:25,000 ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน
                  1:4,000 และ มาตราส่วน 1:25,000  แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model) มาตราส่วน
                  1:4,000 เส้นชั้นความสูงเชิงเลข (Digital Contour Line) มาตราส่วน 1:4,000 และ หมุดหลักฐาน
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49