Page 41 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                  ด้านการพัฒนาที่ดิน และ 4) โครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาที่ดิน  และสามารถจัดกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วน

                  ได้ส่วนเสียได้ดังนี้ ผู้รับบริการ คือ 1) เกษตรกร 2) หน่วยงานภาครัฐ 3) ภาคเอกชนและประชาชน และ 4)
                  สถาบันการศึกษา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ชุมชนในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ
                  ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ และผู้รับจ้างในระดับพื้นที่ พด. ได้รวบรวมข้อมูลและสารสนเทศจากผู้รับบริการ
                  โดยเลือกใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจและข้อเสนอแนะของผู้รับบริการ 2 ช่องทาง คือ
                  ข้อมูลของ พด. จากช่องทางต่าง ๆ เช่น การสำรวจภาคสนามจัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจทั้งรูปแบบ on site
                  และ online การ Focus Group เว็บไซต์ (webboard) AI chatbot : คุยกับน้องดินดี และสื่อ Social Media
                  ต่าง ๆ กับใช้ข้อมูลของผู้ประเมินอิสระจากภายนอก เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
                  และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นต้น ซึ่งได้สำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการในภาพรวม

                  ของงานบริการ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลป้อนกลับไปยังผู้บริหารในการกำหนดนโยบายทิศทางการบริหารงาน นำมา
                  ปรับปรุงกระบวนงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมทั้งเพิ่มช่องทางการเข้าถึงงานบริการที่หลากหลายของ
                  พด. ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นในระบบสารสนเทศ ได้แก่ การให้บริการสารสนเทศผ่านช่องทาง Internet
                  สำหรับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (Agri-
                  Map On line) การบริการข้อมูลและการใช้ที่ดิน (ดินออนไลน์) ระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่ เพื่อวางแผนการใช้
                  ที่ดินเกษตรกรรายแปลง (LDD On Farm Land Use Planning) การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการดินเชิงรุกแบบ
                  รายแปลงผ่านบัตรดินดี (ID Din Dee) อีกทั้ง พด. นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาการให้บริการรูปแบบ e-Service
                  แบบ fully digital ในการบริการตรวจสอบดินเพื่อการเกษตร เพื่อให้ พด. สามารถรับทราบความต้องการของ
                  ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกกลุ่มผู้รับบริการ มีช่องทาง
                  การรับฟังความคิดเห็น การสื่อสารข้อมูลสู่ผู้รับบริการ เช่น โทรศัพท์ 02-941-2227 สายด่วน 1760 การสำรวจ
                  ความคิดเห็นแบบออนไลน์ เว็บไซต์ Facebook  Mail Box  และการจัดงานเวทีต่าง ๆ เป็นต้น นำข้อมูลที่ได้จาก

                  ช่องทางต่าง ๆ มารวบรวม ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้สามารถตอบสนองได้ทันต่อสถานการณ์ นำมาจัดเก็บเป็น
                  สารสนเทศผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความต้องการและความ
                  คาดหวัง 3) ผลสำรวจความพึงพอใจและไม่พึงพอใจ 4) ข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น จากนั้นมีการ
                  สรุปผลเสนอผู้บริหารแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงพัฒนางานให้บริการตอบสนองความต้องการ
                  ของผู้รับบริการอย่างทันท่วงที
                        พด. เก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในระบบ EIS (Executive Information
                  System)   MIS (Management Information System) และGIS (Geographic Information System)
                  เป็นข้อมูลที่มีปริมาณมาก และมีรูปแบบหลากหลาย ทั้งข้อความ แผนที่ รูปแบบวีดีโอ และมัลติมีเดีย การ
                  บริการข้อมูลสารสนเทศด้านการพัฒนาที่ดินยังมีข้อจำกัดสำหรับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่

                  ลักษณะของข้อมูลเป็นข้อมูลทางวิชาการในรูปของสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่
                  (Spatial Data) และข้อมูลเชิงบรรยายหรือข้อมูลคุณลักษณะ (Attribute data) แม้ว่าจะทำออกมาใน
                  รูปแบบ Web Application และ โปรแกรมประยุกต์ แต่ก็ยังแยกส่วนออกเป็นระบบต่าง ๆ ทำให้เข้าใจยาก
                  ประกอบกับผู้รับบริการรุ่นใหม่ต้องการความรวดเร็ว คล่องตัว เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย พด. จึงสร้างนวัตกรรม
                  การให้บริการข้อมูลสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับยุคโซเซียลเน็ตเวิร์ก เช่น สร้างระบบนำเสนอแผนที่ชุดดิน
                  (Soil Series) มาตราส่วน 1:25,000 ระบบการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Present Land use
                  Monitoring) ให้บริการบน Web Map Service ซึ่งเป็นระบบให้บริการข้อมูล GIS ผ่านเครือข่าย Internet
                  ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (Agri-Map On line) ระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่
                  เพื่อวางแผนการใช้ที่ดินเกษตรกรรายแปลง (LDD On Farm Land Use Planning) และบัตรดินดี (ID Din
                  Dee) เป็นต้น
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46