Page 43 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 43
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
1) การฝึกการปฏิบัติและเรียนรู้จากฐานฝึกอบรมในนิทรรศการวันดินโลก ฐานเรียนรู้จะประกอบไปด้วย
บทเรียนที่เน้นสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดผลกระทบของแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างและ
กลับคืนถิ่นชนบท จากพิษภัยของโควิด 19 และจัดเสวนาหมอดินอาสา 4.0 ให้หมอดินอาสาได้มีเวทีสำหรับ
การแสดงศักยภาพ แลกเปลี่ยนผลงานและความสำเร็จ มีโอกาสได้พบปะพูดคุย ทำความรู้จักและสร้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างกันในทุกระดับ 2) การฝึกการปฏิบัติและเรียนรู้ ณ ศูนย์ฝึกหมอดินอาสาที่ได้รับการขึ้น
ทะเบียนในเว็บไซต์หมอดินอาสา เน้นให้หมอดินอาสาที่ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพการเกษตร
สามารถใช้เป็นต้นแบบในการสอนผู้อื่นหรือ ที่เรียกว่า วิทยากร “ครูหมอดิน” ให้สอนหมอดินอาสาและเกษตรกร
อื่นๆ และ 3) การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการพัฒนาที่ดินตามบริบทของปัญหาที่ดินในท้องถิ่น
โดยฝึกอบรมให้หมอดินอาสาให้สามารถเข้าถึงชุดข้อมูลใน “ถังความรู้” และหมอดินอาสารูปแบบดิจิทัลที่ได้ใส่
ความรู้ดังกล่าวไว้ในเวปไซต์ พด. การอบรมได้ปรับตามความต้องการและความเหมาะสมตามบริบทของแต่ละ
พื้นที่ที่หมอดินอาศัยอยู่และมีพื้นที่ทำการเกษตรที่ประสบปัญหาแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ พด. ยัง
พัฒนารูปแบบการอบรมเพื่อให้หมอดิอาสาทั่วประเทศสามารถเข้าถึงความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินได้อย่างทั่วถึง
และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา โดยจัดทำโครงการนำร่องโรงเรียนหมอดินอาสาทางอากาศภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ เผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินออกสู่สาธารณชนผ่านทางเครือข่ายสถานี
วิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นหลัก โดยออกอากาศทั้ง ๔ ภูมิภาค ในระบบ เอ.เอ็ม.สเตอริโอ
และยังสามารถรับชม-รับฟัง ทั้งภาพและเสียงผ่าน Mobile Application ทั้งในระบบ Android ระบบ iOS และ
ผ่านสื่อโซเชียล Facebook Live , YouTube Live ตลอดจน พด. ยังสร้างความผูกพันหมอดินอาสา ยกย่องเชิด
ชูเกียรติ ประกาศให้วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันหมอดินอาสา (LDD Volunteered Soil Doctor Day)
ด้วยเลข 10 อันเป็นมงคล ตรงกับรัชสมัยของ พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี รวมถึงเดือน
กุมภาพันธ์ เป็นเดือนของความรักความผูกพัน นำคนรักดินมาพบกัน วันหมอ ดินอาสาจึงเป็นวันสำคัญที่หมอดิน
อาสาและเจ้าหน้าที่ พด. มารวมกัน ณ ที่แห่งหนึ่ง เพื่อให้คำมั่นสัญญาจะดูแลกันและกัน ร่วมปกปักรักษา ดูแล
ทรัพยากรดินของประเทศ ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย
การบริการข้อมูลและการใช้ที่ดิน (ดินออนไลน์) พด. พิจารณาว่า ข้อมูลดินและข้อมูลการใช้ที่ดิน
ของประเทศ เป็นข้อมูลที่มีมูลค่าสูง (High Value Datasets) และเป็นข้อมูลหลักในชั้นข้อมูลภูมิสารสนเทศ
พื้นฐานของประเทศ (Fundamental Geographic Data Set : FGDS) รวมทั้งเป็นข้อมูลที่มีการขอรับ
บริการเป็นจำนวนมากจากกลุ่มผู้รับบริการของ พด. จึงวิเคราะห์จากสถิติการให้บริการ ปัญหาและ
ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และทำการประเมินความพึงพอใจของ
ผู้รับบริการ โดยมีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 93.50 และได้รับข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ เสนอเพิ่มบริการ
ข้อมูลดิน ในรูปแบบข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) ประเภทเชปไฟล์ (Shape File) ซึ่งเดิมข้อมูลดังกล่าวมีการ
เก็บค่าใช้จ่ายการให้บริการข้อมูล จำเป็นต้องปรับปรุงระเบียบเพื่อให้สามารถบริการได้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย จึงได้
มีการปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการข้อมูล โดยดำเนินการภายใต้คณะกรรมการบริหารข้อมูล
ข่าวสารของราชการกรมพัฒนาที่ดิน ทำการยกเลิกการเก็บค่าใช้จ่ายการให้บริการเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูล
ดิจิทัลทุกประเภทที่อยู่ภายใต้ระเบียบของ พด. จากการปรับปรุงระเบียบทำให้สามารถเพิ่มบริการข้อมูลชุดดิน
(Soil Series) ระดับอำเภอ และจังหวัด ในรูปแบบข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) ประเภทเชปไฟล์ (Shape File)
ที่สามารถให้บริการข้อมูลดินและการใช้ที่ดิน ในรูปแบบที่ผู้รับบริการทุกกลุ่มนำไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่
แตกต่างกันได้อย่างสะดวกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถขอรับบริการ ติดตามคำขอและได้รับข้อมูลอย่าง
รวดเร็ว ลดเวลารอรับข้อมูลของผู้รับบริการ โดยให้บริการในรูปแบบของระบบดินออนไลน์ ใช้งานผ่านเว็บ
แอปพลิเคชัน ในรูปแบบข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) ประเภทเชปไฟล์ (Shape File) ซึ่งรองรับความ
ต้องการ การใช้งานตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มผู้รับบริการ ทั้งนี้ จากสถิติการให้บริการในปีงบประมาณ
2564 พบว่าสามารถให้บริการข้อมูลได้สูงถึง 20,398 รายการ และเมื่อพิจารณาจากข้อมูลการขอรับบริการ