Page 50 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 50
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในอนาคตที่จะส่งผลกระทบถึงองค์การ และการ
วิเคราะห์ความท้าทาย ข้อได้เปรียบ และโอกาสที่สำคัญ ทั้งด้านยุทธศาสตร์ ด้านปฏิบัติการ ด้านบุคลากร
และด้านสังคมที่มีผลต่อการดำเนินงานพัฒนาที่ดิน เพื่อติดตามผลการดำเนินงานส่งผลให้นโยบายที่สำคัญ
ต่างๆ บรรลุเป้าหมายทั้งตามผลการดำเนินงานโดยรวม ซึ่งพิจารณาจากความหลากหลายของแหล่งข้อมูล
ตั้งแต่ระดับพื้นที่ ระดับหน่วยงาน ระดับกรม ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ พร้อมทั้งได้กำหนดวิธีการ
วัด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ การใช้ประโยชน์ ตลอดจนจัดการความรู้จากข้อมูลสารสนเทศที่ได้อย่างเป็น
ระบบและสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน สะท้อนถึงมาตรฐานความเป็นสากลที่มุ่งสู่องค์การความเป็นเลิศ
ทั้งด้านบริหาร ด้านบริการ และด้านวิชาการ ด้วยการเชื่อมโยงเป้าหมายผ่านแผนยุทธศาสตร์และ
แผนปฏิบัติการในแต่ละระดับที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (COP 26) รวมถึงแผนแม่บท
ด้านการเกษตรที่มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง การป้องการการพังทะลายของดินภายใต้แผนแม่บท
ด้านการบริหารจัดการน้ำ และแผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งนโยบาย BCG Model ภาค
การเกษตร และการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่งเน้นให้
มีการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสมและเกิดความยั่งยืน
ในการคัดเลือกตัวชี้วัดที่สำคัญของ พด. คณะทำงานพัฒนาระบบการบริหารผลการปฏิบัติราชการ
ได้กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวชี้วัด โดยครอบคลุมกรอบการดำเนินงานที่สำคัญของ พด. ที่สอดคล้อง/
เชื่อมโยง/ส่งผลกับตัวชี้วัดระดับชาติ ระดับกระทรวง ระดับกรม ซึ่งมีที่มาจากแหล่งตัวชี้วัด 4 ส่วน คือ 1)
แผนปฏิบัติราชการกรมพัฒนาที่ดิน แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านการเกษตร 2) ตัวชี้วัดตามกรอบ
แนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ 3) หลักธรรมาภิบาล
กฎหมาย กฎ ระเบียบ 4) เอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ (ขาวคาดแดง) พด. นำ
สารสนเทศดังกล่าวมากำหนดตัวชี้วัดสำคัญและวางระบบติดตามและประเมินผล เพื่อนำมาติดตาม
ความก้าวหน้าในการบรรลุวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติงานทั้งในระยะสั้นและยาว ด้วยระบบการ
ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโดยใช้หลักการ BSC ร่วมกับการถ่ายทอดเป้าหมายและตัวชี้วัด
(Cascading) จากระดับกรมลงสู่กลุ่มภารกิจ สำนัก/กอง และระดับบุคคล จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ระดับหน่วยงาน (IPA : Internal Performance Agreement) โดยใช้ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล
ระดับกรม (DPIS : Departmental Personnel Information System) ในการรวบรวมและถ่ายทอดตัวชี้วัด
สำคัญ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์การ รวมทั้งการบูรณาการ ให้
สอดคล้องทั้งการบริหารจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคที่มีความเชื่อมโยงกันในด้านนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ สู่
แผนการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการติดตามการดำเนินงานผ่านระบบรายงานแผน/ผลการ
ปฏิบัติงานกรมพัฒนาที่ดิน การประชุม ผ่าน Video/Web Conference การรายงานการตรวจราชการในระดับ
พื้นที่ รวมถึงการใช้ Group ใน Line Application ในการสนทนา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ ข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำข้อมูลมาปรับปรุง พัฒนางานและสร้างนวัตกรรมที่
หลากหลายให้เหมาะสมกับแต่ละบริบท อีกทั้งยังสนับสนุนการตัดสินใจด้านนโยบายได้ทันสถานการณ์ มีความ
คล่องตัวในการปรับเปลี่ยนนโยบายและแผนงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วเหมาะสมกับสภาวการณ์ในขณะเวลานั้นๆ
การติดตามผลการดำเนินงานของ พด. แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ตัวชี้วัดระยะกลางและระยะยาว
วัดผลสำเร็จของวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ เป็นครึ่งแผนและสิ้นสุดแผน (3-5 ปี) 2) ตัวชี้วัดระยะสั้น วัดผล
การดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการในระดับหน่วยงาน ภายใต้คำรับรองการปฏิบัตราชการระดับ