Page 39 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                  เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตที่มีความพร้อมจากการชี้แจงและการทำความเข้าใจข้อมูลส่งผลให้การผลิตมี
                  รายได้เพิ่มขึ้น
                  2.4 การติดตามผลการบรรลุเป้าหมาย การแก้ไขปัญหา และการรายงานผล

                         พด. มีแผนในการเตรียมความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนแผนในเชิงรุก เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการ
                  แก้ไขสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อแผน คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพการ
                  ใช้ที่ดิน ความเสื่อมโทรมของที่ดิน การชะล้างพังทลายของดิน ภัยพิบัติทางการเกษตร การอพยพเคลื่อนย้าย
                  แรงงานจากภาคอุตสาหกรรมไปสู่ภาคการเกษตร และการเกิดโรคระบาด โดยมีการเตรียมความพร้อม ได้แก่ 1)
                  การจัดทำแผนงานโครงการเชิงรุกรองรับ เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ 2) การสร้างการรับรู้และนำแผนการ

                  ใช้ที่ดินสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่และท้องถิ่น 3) การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการ
                  ทรัพยากรดิน (LDN) เพื่อกำหนดมาตราการการจัดการความเสื่อมโทรมของที่ดินในระดับพื้นที่ 4) การพัฒนา
                  ที่ดินเพื่อป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติทางการเกษตร (ภัยแล้ง/อุทกภัย/ดินถล่ม) 5) แผนขับเคลื่อน BCG

                  Model ภาคการเกษตรของกรมพัฒนาที่ดิน โดย พด. จัดทำแผนการจัดการเชิงรุก ได้แก่ 1) การจัดทำโครงการ
                  สำคัญ (Flagship project) เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติได้แก่ Smart Tambon การพัฒนาพื้นที่เฉพาะ
                  โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ แก้ไขปัญหาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 เป็นต้น
                  2) การจัดทำโครงการสนับสนุนแผนปฏิรูปประเทศ (Big Rock) ได้แก่ โครงการแปลงใหญ่ 3) โครงการสำคัญ

                  เร่งด่วน (Quick win) ได้แก่ Big Data, Agri - Map 4) การทบทวนและปรับปรุงแผนปฏิบัติการแห่งชาติ
                  (National Action Plan) ของอนุสัญญา UNCCD เพื่อรองรับสถานการณ์ในปัจจุบันให้สามารถขับเคลื่อน
                  เป้าหมาย SDG ในระดับประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ยังมีระบบในการติดตามผลการดำเนินการตาม
                  แผนยุทธศาสตร์ แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ตัวชี้วัดระยะยาวเพื่อวัดผลสำเร็จของวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

                  2) ตัวชี้วัดระยะสั้นเป็นการวัดผลการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการในระดับหน่วยงาน ภายใต้ข้อตกลงการ
                  ปฏิบัติงาน IPA 3) ตัวชี้วัดผลโครงการสำคัญเร่งด่วน โดย พด. มีการเก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัดข้างต้นตาม
                  กรอบระยะเวลา ผู้รับผิดชอบในแต่ละตัวชี้วัดจะส่งรายงานผลการวัดผลการดำเนินงาน ปัจจัยที่ทำให้เกิด
                  ความสำเร็จ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ รวมถึงข้อเสนอแนะหรือแนวทางในการดำเนินงาน โดยมี

                  ระบบรายงานผลการดำเนินงานต่อสาธารณะ ได้แก่ 1) ระบบฐานข้อมูลการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดิน
                  และน้ำ(http://sql.ldd.go.th/RevisedRsv/main.aspx)  2) ระบบรายงานผู้สอบบัญชี รายงานต้นทุนผลผลิต
                  รายงานการเงินและงบทดลอง (http://www.ldd.go.th/report_fid/Index.html) 3) ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง

                  (http: / / sql.ldd.go.th/auction/)   4) ระบบฐานข้อมูลแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน
                  (http://eis.ldd.go.th/lddeis/water.aspx) 5)   ระบบบริหารและติดตามโครงการปลูกหญ้าแฝก
                  (http://eis.ldd.go.th/lddeis/VGT.aspx) 6) ระบบฐานข้อมูลหมอดินอาสา 7) ระบบฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์
                  8) รายงานประจำปี  และ 9) ฐานข้อมูลเกษตรกรที่ได้ใบรับรองเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
                         นอกจากนี้ พด. ยังมีการคาดการณ์ผลการดำเนินงาน ตามกรอบระยะเวลาของแผนระยะสั้น และ

                  ระยะยาว ซึ่งพบว่าพื้นที่ดินปัญหาทางการเกษตรกรรมส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และ
                  พื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินได้ไม่เต็มศักยภาพ พด. จึง
                  ดำเนินการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงโครงการเพื่อป้องกันและคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และมี

                  การติดตามผลการดำเนินงานเป็นรายเดือน หากพบว่ามีโครงการที่มีผลการดำเนินการไม่เป็นไปตามแผน
                  กรมมีการบริหารจัดการโดยปรับแผนงานและงบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความเหมาะสม
                  ในแต่ละพื้นที่และปฏิบัติงานตามแผนสำรองที่ได้จัดลำดับความสำคัญไว้ในแต่ละโครงการ เช่น การ
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44