Page 38 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                  1) ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับปรุงกระบวนการ/การบริการ ได้แก่ แผนปฏิบัติการด้านดิจิทัล
                  ของกรมพัฒนาที่ดินมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อลดการใช้ทรัพยากร เช่น การจัด
                  ประชุมโดยใช้ E-Meeting,Video/Web Conference, QR code และ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์/E-

                  document/E-Office การติดต่อและประสานงานผ่าน E-mail, Line, Facebook รวมทั้งการพัฒนาคิดค้น
                  เทคโนโลยี Mobile Application ด้านการพัฒนาที่ดิน เช่น LDD on Farm, แผนที่เกษตรเพื่อการบริหาร
                  จัดการเชิงรุก Agri-Map Online, ดินออนไลน์, AI Chatbot : คุยกับน้องดินดี ทำให้เกษตรกรสามารถ
                  เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและนำไปปฏิบัติได้ทันที 2) การปรับปรุงกระบวนการ ลดการทำซ้ำและความผิดพลาด
                  ได้แก่ การนำ LDD Excellence Model มาปรับใช้ซึ่งเป็นระบบการปรับปรุงผลการดำเนินงานโดย

                  ผสมผสานแนวคิด PDCA และนำเครื่องมือสมัยใหม่มาใช้ปรับปรุงกระบวนการสร้างคุณค่าและสนับสนุนทั้ง
                  ระบบ เช่น PMQA 4.0, SIPOC, Process Management, To be Process Redesign, Fish bone
                  diagram, Service blueprint เพื่อให้มีการจัดการกระบวนการ การทำงานและปรับปรุงกระบวนการ การ

                  ทำงานที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งนำหลัก Smart LDD มาใช้ในการบริหารจัดการงานและ
                  การปฏิบัติงานของหน่วยงาน และ 3) การใช้นวัตกรรมในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อ
                  บริหารจัดการ ช่วยลดการใช้ทรัพยากร เกิดการทำงานที่สะดวกและรวดเร็ว ได้แก่ ระบบการประชุม
                  Online ระบบ e-Meeting ระบบ e-Saraban และระบบการรายงานติดตามงาน เงิน – รายงานทางบัญชี

                  /รายงานแผน/ผลการปฏิบัติงาน/ติดตามงาน เช่น แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน, 1 ตำบล 1 กลุ่ม
                  ทฤษฎีใหม่ เป็นต้น และใช้เทคโนโลยีเพื่อการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำ
                  ได้แก่ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GNSS, RS, GIS) แผนที่ Agri-Map, ดินออนไลน์, LDD on Farm, Zoning
                  by Agri-map, AI Chatbot : คุยกับน้องดินดี, บัตรดินดี ชุดตรวจสอบดิน Smart Soil Test Quick เป็นต้น

                         การจัดทำแผนปฏิบัติราชการของ พด. นั้น สอดรับกับการบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของ พด.
                  เช่น 1) การจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลและแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่สนับสนุน
                  ครอบคลุมทุกประเด็นยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ด้านที่มุ่งเน้นด้านการบรรลุวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ขององค์การ
                  เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีทิศทางและมุ่งไปสู่การเป็นองค์การอัจฉริยะทางดินโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อ

                  บุคลากรและความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นกับความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร
                  ด้วยการใช้การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องมาร่วมวิเคราะห์ข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคลทั้งจากภายใน
                  และจากภายนอก 2) การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลของกรมพัฒนาที่ดินที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับ

                  แผนปฏิบัติการดิจิทัลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และแผนพัฒนาดิจิทัลของประเทศรวมทั้งมีการ
                  จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
                  (Data Governance) เพื่อให้การบริหารจัดการและบูรณาการข้อมูลมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด ให้
                  บรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายได้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ด้านเทคโนโลยี ทั้งอุปกรณ์ บุคลากร และ
                  ข้อมูลตลอดจนจัดทำแผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล สำหรับข้าราชการ และบุคลากรกรมพัฒนาที่ดิน 3) การ

                  จัดทำแผนปฏิบัติการของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (CESRA) ซึ่งการดำเนินงาน
                  ได้ยึดเป้าหมายแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ผ่านการมีส่วนร่วมของบุคลากรและเครือข่ายภายในและภายนอกทั้ง
                  ในและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและงานวิจัยทางดินสู่เป้าหมายการจัดการดินอย่างยั่งยืน 4) การ

                  บริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) โดยบูรณาการฐานข้อมูลร่วมกันของทุกหน่วยงาน
                  ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อนำไปสู่การวางแผนการทำงานร่วมกัน เพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกนำสู่
                  การกำหนดนโยบายการปรับเปลี่ยนในพื้นที่ไม่เหมาะสม ทั้งในระดับส่วนกลาง และภูมิภาค เกิดแรงจูงใจกับ
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43