Page 37 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
หน่วยงานและบุคคลตามภารกิจ โดยวัดร้อยละความสำเร็จผลการดำเนินงานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ชาติภายใต้แผน
แม่บทด้านการเกษตร เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินด้วยกิจกรรมการวางแผนการใช้ที่ดิน การ
ปรับปรุงบำรุงดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำการฟื้นฟูทรัพยากรดิน เป็นต้น โดยกำหนดตัวชี้วัดและมีผลการ
ดำเนินงานได้สูงกว่าเป้าหมายเมื่อเทียบปี 2563 และ 2564 เช่น พื้นที่ได้รับการอนุรักษ์ ปรับปรุง และฟื้นฟู
มีผลงานสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 7.8 การก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานได้รับการก่อสร้าง มี
ผลงานสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 11.4 พื้นที่การเกษตรที่ได้รับการส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี
ทางการเกษตรมีผลงานสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 21.9 รวมทั้งข้อมูลการลดต้นทุนการผลิตในระบบการ
ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่มีผลงานสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 16 และผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรม
การปรับปรุงคุณภาพดิน มีผลงานสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 28.8 ซึ่งการบรรลุผลตามตัวชี้วัดดังกล่าว
สนับสนุนให้อัตราผลิตภาพการผลิตของภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นและสินค้าเกษตรปลอดภัยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
พด. ได้มีการกำหนดเป้าหมายระยะสั้น คือ การดำเนินงานโครงการที่สำคัญสอดคล้องกับนโยบาย
รัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน มีตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ที่ตอบเป้าหมาย ได้แก่ จำนวนพื้นที่ที่มีการใช้
ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ ไม่น้อยกว่า 5 ล้านไร่ (ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดี
ศักยภาพสูง และศักยภาพต่ำ) และเป้าหมายระยะยาว คือ การดำเนินงานโครงการดำเนินตามแผนปฏิบัติ
ราชการ และรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ที่ตอบเป้าหมาย ได้แก่
จำนวนพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ ไม่น้อยกว่า 10 ล้านไร่ (ครอบคลุม
พื้นที่เกษตรกรรมชั้นดี ศักยภาพสูง และศักยภาพต่ำ) โดยมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและส่งผล
ต่อแผนงานและเป้าประสงค์ของ พด. พบว่า มีความเสี่ยงที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน ความเสื่อมโทรมของที่ดิน การชะล้างพังทลายของดิน จึงได้มีการกำหนด
แผนงาน/แนวทางที่รองรับความเสี่ยง คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเกษตรกรรม
การปรับปรุง ฟื้นฟู และลดความเสื่อมโทรมของดิน การสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการขยายผลการ
พัฒนาพื้นที่ทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน และเตรียมรับมือกับ
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือคาดไม่ถึง เช่น
ภัยพิบัติทางการเกษตร การอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคอุตสาหกรรม และการเกิดโรคระบาด โดยมี
แผนงาน/แนวทางที่รองรับผลกระทบ คือ 1) การพัฒนาที่ดินเพื่อป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติทางการเกษตร
(ภัยแล้ง/อุทกภัย/ดินถล่ม) 2) การก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 3) การป้องกันการชะล้าง
การพังทะลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ 4) การสร้างรายได้ให้
เกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งด้วยการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด
2.3 แผนขับเคลื่อนในทุกระดับและทุกภาคส่วน
พด. จัดทำแผนปฏิบัติการ ประกอบไปด้วย เป้าหมายสำคัญ เป้าประสงค์ตัวชี้วัด และแนวทางการ
พัฒนาโดยมีแผนงานโครงการสนับสนุนครอบคลุมยุทธศาสตร์ทุกด้านนำไปสู่การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ
ด้วยการถ่ายทอดเป้าหมายและตัวชี้วัดลงสู่หน่วยงานตามบทบาทภารกิจทั้งหน่วยงานหลักและสนับสนุน และมี
การกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานเป็นรายปีมีการวัดผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานรอบ 6 เดือน และ 12
เดือน มีการกำหนดผู้รับที่ชัดเจนจากกรมลงกองสำนัก และบุคคล มีแผนการดำเนินงาน/แผนปฏิบัติการ มี
ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทุกด้าน โดยแผนการดำเนินงาน/แผนปฏิบัติการ มีการคำนึงถึงประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล การลดต้นทุน เพิ่มความรวดเร็ว และสร้างคุณค่าต่อประชาชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้