Page 36 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                  ราชการขึ้น จำนวน 2 ครั้ง โดยในครั้งที่ 1 เป็นการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงาน
                  ภายใน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนัก/กอง ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
                  และหมอดินอาสา ครั้งที่ 2 เป็นการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภายนอก

                  ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
                  กับการดำเนินงานของกรมฯ เพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงใน (ร่าง) แผนปฏิบัติราชการ ให้
                  มีความสมบูรณ์และนำ (ร่าง) แผนปฏิบัติราชการ เสนอคณะกรรมการพิจารณา และประกาศใช้ต่อไป
                  2.2 เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวสอดคล้องพันธกิจและยุทธศาสตร์ชาติ
                        จากเป้าประสงค์หลักของการดำรงอยู่ขององค์การ และระบบนิเวศน์ในปัจจุบันของ พด. ซึ่งเกิดสภาพ

                  การแข่งขัน และประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดภัยธรรมชาติทั้งภัยแล้ง อุทกภัย การเกิด
                  โรคระบาด รวมทั้งเทคโนโลยี ก่อให้เกิดความท้าทายหลากหลายประเด็นที่ พด. ต้องจัดลำดับความสำคัญและ
                  วิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่สามารถตอบสนองต่อความท้าทายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

                  พด. ได้กำหนดแผนงานโครงการสนับสนุนสอดคล้องกับเป้าหมาย โดยมีการถ่ายทอดไปสู่หน่วยปฏิบัติในพื้นที่
                  เป้าหมายไม่น้อยกว่า 3 ล้านไร่ต่อปี โดยมีกรอบแนวทางในการจัดตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามการ
                  ถ่วงน้ำหนัก (weighting scale) จากฐานข้อมูลเขตเกษตรกรรม 3 เขต (ชั้นดี ศักยภาพสูง และศักยภาพต่ำ)
                  โดยเน้นเขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพสูง (ร้อยละ 60) ซึ่งมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนพัฒนาเนื่องจากต้นทุนต่ำกว่า

                  พื้นที่ที่มีศักยภาพต่ำ แต่ได้รับผลผลิตสูงกว่าทำให้หน่วยปฏิบัติในพื้นที่มีกรอบในการกำหนดพื้นที่พัฒนาได้
                  อย่างชัดเจน สามารถติดตามผลการดำเนินงานเชิงผลสัมฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้ทรัพยากรที่ดินของ
                  ประเทศมีการใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่เกษตรกรสามารถผลิตสินค้าเกษตร
                  ที่มีมูลค่าสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรวมทั้งได้รับการบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างสะดวก

                  รวดเร็ว และโปร่งใสตรงตามความต้องการและความคาดหวัง อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์ผลกระทบของเป้าหมาย
                  และตัวชี้วัดของหน่วยงานต่อการบรรลุยุทธศาสตร์ชาติทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมีเป้าหมายเชิง
                  ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน คือ พื้นที่เกษตรกรรมมีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสมตามศักยภาพจำนวน
                  15 ล้านไร่ โดยนำสารสนเทศ สถานะทรัพยากรดินประกอบกับผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปีความพร้อม

                  ในการดำเนินงานมาวิเคราะห์การบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ ตามหลักสถิติมากำหนดความเป็นไปได้
                  ของผลงานที่จะดำเนินการในระยะ 5 ปี และได้เพิ่มเป้าหมายให้เกิดความท้าทายและยกระดับองค์การสู่การ
                  เป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน นอกจากนี้ยังกำหนดพื้นที่เป้าหมายและถ่วงน้ำหนัก (weighting scale)

                  กำหนดสัดส่วนในการพัฒนาจากฐานข้อมูลเขตเกษตรกรรม 3 เขต (ชั้นดี ศักยภาพสูง และศักยภาพต่ำ)
                  ด้วยน้ำหนักร้อยละ 20 : 60 : 20 โดยการมุ่งเน้นการพัฒนาในพื้นที่เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพสูงเพื่อเพิ่ม
                  ขีดความสามารถในการแข่งขันในการผลิตสินค้าเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูง (High Value) แต่ในขณะเดียวกันก็
                  สร้างโอกาสให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องยกระดับการพัฒนาให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ส่งผลกระทบต่อ
                  ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในประเด็นการเกษตรสร้างมูลค่าการสร้างการเติบโต

                  บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างพลังทางสังคมและด้านการปรับสมดุลและการ
                  พัฒนาระบบบริหารการจัดการภาครัฐ พด. ได้มีการกำหนดตัวชี้วัด การประเมินผลการปฏิบัติราชการใน 4
                  มิติ คือ ประสิทธิผล คุณภาพ ประสิทธิภาพและพัฒนาองค์การ และใช้ข้อมูลย้อนหลัง โดยในแต่ละมิติได้

                  คัดเลือกโครงการสำคัญ นำมาใช้ในการกำหนดตัวชี้วัดและกำหนดค่าเป้าหมายจากผลการดำเนินงาน
                  ย้อนหลัง 3 ปี และนำค่าเฉลี่ย (average) มากำหนดค่ามาตรฐานไว้ที่ระดับ 3 และกำหนดช่วงห่าง
                  (interval) สำหรับค่าคะแนนที่ 1 2 4 และ 5 ตามลำดับ เช่น มิติประสิทธิผลได้กำหนดตัวชี้วัดลงสู่ระดับ
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41