Page 35 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
(ร่าง) แผนปฏิบัติราชการ กรมพัฒนาที่ดิน ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566 – 2570 ได้แก่ 1) เพิ่มประสิทธิภาพการ
ใช้ที่ดินให้เหมาะสมด้วยระบบบริหารจัดการเชิงรุก 2) บริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรดินและที่ดินไปด้วย
High Value Dataset 3) วิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรมการพัฒนาที่ดินให้เป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน
4) ยกระดับองค์การเข้าสู่ระบบราชการดิจิทัล
ส่วนยุทธศาสตร์ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาเข้าสู่ยุคดิจิทัล
การพัฒนาที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจที่สร้างคุณค่า (Hight Value) เศรษฐกิจหมุนเวียนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้ที่ดินที่ส่งผลให้เกิด
ความเสื่อมโทรมของที่ดิน ได้แก่ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินให้เหมาะสมด้วย
ระบบบริหารจัดการเชิงรุก ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรดินและที่ดินด้วย High
Value Dataset ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 วิจัย พัฒนาและสร้างนวัตกรรมการพัฒนาที่ดินให้เป็นองค์การ
อัจฉริยะทางดิน และ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ยกระดับองค์การเข้าสู่ระบบราชการดิจิทัล สำหรับ
ยุทธศาสตร์ที่ตอบสนองต่อความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรของประเทศที่มีความ
เหมาะสมตามศักยภาพของดิน ที่ดิน สภาพเศรษฐกิจ โดยวางแผนการใช้ที่ดินผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม
ของชุมชน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและสอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่ คือ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินให้เหมาะสมด้วยระบบบริหารจัดการเชิงรุก และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2
บริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรดินและที่ดินด้วย High Value Dataset ทั้งนี้ พด. ยังมีแผนยุทธศาสตร์และ
แผนงานที่เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการและรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล คือ
พด. มีการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2
บริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรดินและที่ดินด้วย High Value Dataset
ในปีงบประมาณ 2564 มีการทบทวนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการโดยทีมผู้บริหารระดับสูง
ได้แก่ อธิบดี รองอธิบดี และผู้อำนวยการกอง/สำนัก ซึ่งได้ร่วมกันทบทวนบริบทขององค์กร การดำเนินงาน
ที่ผ่านมาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรที่จะส่งผลถึงการทำงานในอนาคตเพื่อกำหนดเป็น
ทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไปในระยะเวลาห้าปีข้างหน้า โดยใช้เครื่องมือ 6Cs Analysis และดำเนินการวิเคราะห์
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้รับบริการโดยการสัมภาษณ์หน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในรูปแบบ focus
group ทำให้ได้ข้อมูลความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนำไปสู่การ
กำหนดวิสัยทัศน์และการจัดทำกลยุทธ์โดยทีมผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ผอ.กลุ่ม/ฝ่ายของกอง/สำนัก
ส่วนกลางและสพข. และ ผอ.สพด. ทั้ง 77 จังหวัด โดยพิจารณาผลิตภัณฑ์และบริการของกรม โดยใช้
เครื่องมือ 5W+1H ซึ่งเป็นเทคนิคการตั้งคำถาม Who, What, Where, When, Why, How เพื่อให้ได้มาซึ่ง
ข้อมูลที่จะนำมาประกอบการกำหนดกลยุทธ์ที่สัมพันธ์กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากนั้นใน
กระบวนการจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติราชการ ได้มีการวิเคราะห์องค์การความต้องการและความคาดหวังมา
กำหนดกลยุทธ์มากำหนดแนวทางพัฒนาโดยการสัมภาษณ์หน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในรูปแบบ
focus group ตามประเด็นคำถามวิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียของ พด. ผลจากการสัมภาษณ์ ทำให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการสำคัญที่จะ
ขับเคลื่อน พด.ไปสู่การเป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน ตามที่กำหนดในวิสัยทัศน์ รวมทั้งรายชื่อผู้รับบริการ
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ พด. ซึ่งจำแนกตาม อายุ เพศ ลักษณะพฤติกรรม รายได้ และความต้องการและ
ความคาดหวังของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปัญหา/ข้อจำกัดในการดำเนินงานที่ผ่านมา และ
ข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินงานในอนาคต และดำเนินการจัดประชุมประชาพิจารณ์ (ร่าง) แผนปฏิบัติ