Page 34 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
2.1 แผนยุทธศาสตร์ที่ตอบสนองความท้าทาย สร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลง และมุ่งเน้นประโยชน์สุข
ประชาชน
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ
การสร้างความสามารถในการแข่งขัน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เรื่อง ยุติความหิวโหย และการ
หยุดยั้งความเสื่อมโทรมของที่ดิน บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริม
เกษตรกรรมที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเป้าหมายลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจก (COP 26) รวมถึงแผนแม่บทด้านการเกษตรที่มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง การ
ป้องการการพังทะลายของดินภายใต้แผนแม่บทด้านการบริหารจัดการน้ำ การนำกรอบแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มาจัดทำแผนปฏิบัติราชการให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกัน การนำ
นโยบาย BCG Model ภาคการเกษตรมาใช้ในการจัดทำแผนงานโครงการสนับสนุน การบูรณาการการ
ทำงานกับหน่วยงานที่กำกับนโยบายและแผนบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ และการ
ดำเนินงานตามนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พด. ได้จัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติ
ราชการ กรมพัฒนาที่ดิน ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566 – 2570 โดยมีเป้าหมายสำคัญสูงสุด คือ เป็นองค์การ
อัจฉริยะทางดินเพื่อขับเคลื่อนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม 15 ล้านไร่ ภายในปี 2570 ประกอบด้วยประเด็น
ยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ 1) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินให้เหมาะสมด้วยระบบบริหารจัดการเชิงรุก 2)
บริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรดินและที่ดินด้วย High Value Dataset 3) วิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรม
การพัฒนาที่ดินให้เป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน และ 4) ยกระดับองค์การเข้าสู่ระบบราชการดิจิทัล ซึ่ง
กระบวนการสร้างยุทธศาสตร์ พด. ได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของบุคลากร เครือข่าย โดยมีการดำเนินการจัดทำ
ยุทธศาสตร์ด้วยวิธี Bottom-up ซึ่งมีการทบทวนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการโดยทีมผู้บริหารระดับสูง
ได้แก่ อธิบดี รองอธิบดี และผู้อำนวยการกอง/สำนัก ซึ่งได้ร่วมกันทบทวนบริบทขององค์การ การดำเนินงานที่
ผ่านมาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การที่จะส่งผลถึงการทำงานในอนาคตเพื่อกำหนดเป็นทิศทางที่
องค์กรจะมุ่งไปในระยะเวลาห้าปีข้างหน้า โดยใช้เครื่องมือ 6Cs Analysis และดำเนินการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย และผู้รับบริการโดยการสัมภาษณ์หน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในรูปแบบ focus group ทำให้
ได้ข้อมูลความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์
และการจัดทำกลยุทธ์โดยทีมผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ผอ.กลุ่ม/ฝ่ายของกอง/สำนักส่วนกลางและสพข. และ
ผอ.สพด. ทั้ง 77 จังหวัด โดยพิจารณาผลิตภัณฑ์และบริการของกรม โดยใช้เครื่องมือ 5W+1H ซึ่งเป็นเทคนิค
การตั้งคำถาม Who, What, Where, When, Why, How เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาประกอบการกำหนด
กลยุทธ์ ที่สัมพันธ์กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ยุทธศาสตร์ พด. ที่ตอบสนองต่อความท้าทาย เช่น 1) การจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดเพื่อสนับสนุนการ
ขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs2 การขจัดความหิวโหย SDGs 15.3 ในการหยุดยั้งความเสื่อมโทรมของที่ดิน และ
SDGs 13 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก(COP 26) 2) แผน
แม่บทด้านการเกษตรที่มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง 3) การจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดเพื่อสนับสนุนการ
ป้องการการพังทะลายของดินภายใต้แผนแม่บทด้านการบริหารจัดการน้ำ 4) การนำกรอบแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มาจัดทำแผนปฏิบัติราชการให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกัน 5) การ
นำนโยบาย BCG Model ภาคการเกษตรมาใช้ในการจัดทำแผนงานโครงการสนับสนุน 6) การบูรณาการ
การทำงานกับหน่วยงานที่กำกับนโยบายและแผนบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
7) นโยบายสำคัญและเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ ประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ภายใต้