Page 33 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
การรายงานผลการดำเนินงานโครงการสำคัญของกระทรวงเกษตรฯเช่น โครงการ 1 ตำบล 1กลุ่มเกษตร
ทฤษฎีใหม่ โครงการเกษตรอินทรีย์ 4) ระบบการรายงานผ่าน Socialmedia เช่น กลุ่มLine/เพจFacebook
ให้กับผู้บริหารเพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายและเร่งรัดติดตาม และยังมีศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการ
ทุจริตที่เฝ้าระวังในเรื่องข้อร้องเรียนต่าง ๆ ของ พด. มีการกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินการด้านการจัดการ
ผลกระทบเชิงลบต่อสังคม เช่น (1) ร้อยละการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ต่อสถานการณ์ และ (2) ร้อยละของ
การดำเนินการตามแผนประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน และ (3) การจัดการข่าว
ปลอม Fake News และมีการติดตามผลดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทุก 1 วัน และทุก 1 เดือน
นอกจากนี้ พด. ได้ติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการจัดการผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ
สิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1) มาตรการจัดการด้านเศรษฐกิจ มีการกำหนดตัวชี้วัดในการติดตามและการประเมินผล
การดำเนินงานเชิงปริมาณและคุณภาพ ได้แก่ ต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น เป็นต้น ผลการติดตาม
คือ กิจกรรมที่ พด.ดำเนินการ ส่งผลให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุน เช่น การพัฒนาคุณภาพดินในระบบ
ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่และการพัฒนาคุณภาพดินในพื้นที่จัดการปัญหาที่ดินทำกิน พบว่า
เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตลดลงคิดเป็นร้อยละ 16.24 และ 19.76 ตามลำดับ และการดำเนินกิจกรรม
ส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดสารเคมีทางการเกษตร ฟื้นฟูและป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ปรับปรุง
คุณภาพดิน และพัฒนาที่ดินพื้นที่เฉพาะ ส่งผลให้เกษตรกรมีผลผลิตเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 14.31, 20.16,
25.76 และ 10.65 ตามลำดับ การก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานทำให้เกษตรกรสามารถกัก
เก็บน้ำตลอดปีคิดเป็นร้อยละ 90.36 โดยเกษตรกรมีการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำเพื่อทำนา ปลูกพืช ปลูกพืชผัก
สวนครัว และเลี้ยงปลา และ 2) มาตรการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม มีการกำหนดตัวชี้วัดในการติดตามและ
การประเมินผลการดำเนินงานการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เช่น (1) การส่งเสริมการไถกลบและผลิต
ปุ๋ยอินทรีย์ในพื้นที่เกษตรภาคเหนือช่วยป้องกันหมอกและควันไฟในพื้นที่ได้ถึง 52,751 ไร่ (2) การส่งเสริม
การใช้สารอินทรีย์ลดสารเคมีทางการเกษตรทำให้เกษตรกรสามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีทางการเกษตร
เฉลี่ยร้อยละ 48.51
ผลลัพธ์สำคัญในหมวด 7 ที่เป็นผลจากการดำเนินงานของหมวด 1
จากการนำของอธิบดี พด. และทีมนำ ทำให้การพัฒนาที่ดินบรรลุเป้าหมายตามพันธกิจและยุทธศาสตร์
โดยดำเนินการได้ตามแผนและสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ เช่น การจัดทำแผนการใช้ที่ดินระดับตำบล การอนุรักษ์
ปรับปรุงและฟื้นฟูพื้นที่ทางการเกษตร การพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตรเฉพาะ (พื้นที่ดินเค็ม ทุ่งรังสิต ทุ่ง
มหาราช ทุ่งกุลาร้องไห้) และการก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน เป็นต้น ด้านการเป็นต้นแบบ
พด. ได้รับรางวัลเลิศรัฐจากสำนักงาน ก.พ.ร. ตั้งแต่ปี 2557-2564 รวม 39 รางวัล จำแนกเป็น สาขาบริการ
ภาครัฐ 16 รางวัล (ได้รับติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ปี 2557 – 2564) รางวัลเลิศรัฐสาขาการบริหารราชการแบบมี
ส่วนร่วม 19 รางวัล (ปี 2559 – 2564) และรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) 4 รางวัล
(หมวด 1 หมวด 2 หมวด 4 และ PMQA 4.0) รวมทั้งได้รับการประเมินเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบทุกปี
ตั้งแต่ปี 2562 - 2564 จากคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ และในปี 2564 พด. มีผลการประเมิน
คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency
Assessment: ITA) ปรับสูงขึ้นอยู่ในระดับ A (94.47%) นอกจากนี้อธิบดี พด. ผู้มีบทบาทนำองค์การยัง
ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้แก่ รางวัลศิษย์เก่าแห่งความภาคภูมิใจ
มหาวิทยาลัยขอนแก่นในปี 2560 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และรางวัลเชิดชูเกียรติ
เกษตรศาสตร์ปราดเปรื่องรุ่นที่ 18 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2562 และรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นและศิษย์
เก่าเกียรติยศมหาวิทยาลัยขอนแก่นในปี 2564 เป็นต้น