Page 32 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                  ตะวันออกเฉียงเหนือ” ซึ่งสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสื่อหลักของ
                  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำหน้าที่เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตร ภาษา วัฒนธรรม และให้บริการ
                  สาธารณะในการนำองค์ความรู้สู่สังคม โดยจัดทำเนื้อหา การผลิตรายการ และการเผยแพร่องค์ความรู้ที่

                  เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินออกสู่สาธารณชน ผ่านทาง เครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัย
                  เกษตรศาสตร์เป็นหลัก โดยออกอากาศทั้ง ๔ ภูมิภาค ในระบบ เอ.เอ็ม.สเตอริโอ และยังสามารถรับชม-รับ
                  ฟัง ทั้งภาพและเสียงผ่าน Mobile Application ทั้งในระบบ Android ระบบ iOS และผ่านสื่อโซเชียล
                  Facebook Live , YouTube Live ซึ่งหมอดินอาสานำร่องในโครงการฯ สามารถรับชม-รับฟัง ย้อนหลังได้
                  นอกจากนี้เกษตรกรอื่นๆ ยังสามารถเข้ารับชม รับฟังความรู้ขณะออกอากาศได้อีกด้วย

                  1.4 การคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
                        พด. ได้ตระหนักถึงภารกิจความรับผิดชอบของ พด. ในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งการดำเนินการใด ๆ
                  เกี่ยวกับทรัพยากรดินหรือที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบกับประชาชนหรือชุมชนในพื้นที่ได้ โดย พด.

                  มีมาตรการป้องกัน/แก้ไขผลกระทบเชิงลบต่อสังคม ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน ได้แก่ 1) กำหนด
                  มาตรการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน เช่น โครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน มี
                  มาตรการเพื่อลดความขัดแย้งของผู้เข้าร่วมโครงการกับพื้นที่ข้างเคียงจากการขุดบ่อ โดยกำหนดข้อปฏิบัติให้
                  การเลือกสถานที่และขุดแหล่งน้ำ ขอบบ่อจะต้องห่างจากพื้นที่ข้างเคียงตามกฎหมายกำหนด และมีมาตรการ
                  ในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายที่ระบุไว้ในทำคู่มือการก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน

                  เช่น การขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นจะต้องมีระยะของขอบสระน้ำห่างจากแนวเขตที่ดินผู้อื่นไม่น้อย
                  กว่าสองเท่าของความลึกสระน้ำ และนำดินที่ขุดมาถมเป็นคันล้อมรอบสระน้ำหรือปรับพื้นที่ภายในแปลงให้
                  เรียบร้อย เป็นต้น 2) กำหนดขั้นตอนการทำงานให้มีกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกร

                  ประชาชน และชุมชนในระดับพื้นที่ เช่น โครงการแผนการใช้ที่ดินระดับตำบล มีขั้นตอนการวิเคราะห์สภาวะ
                  แวดล้อมตามบริบทพื้นที่ด้วย (DPSIR Framework) การจัดทำกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
                  (Participatory Rural Appraisal : PRA) และการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนการใช้ที่ดินจากผู้มีส่วนได้
                  ส่วนเสีย จากขั้นตอนการจัดทำแผนบนพื้นฐานทางวิชาการตามบริบทของภูมิสังคมและการมีส่วนร่วมของผู้

                  มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่งผลให้แผนมีความสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรในที่นั้นๆ มีการวิเคราะห์การ
                  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือกิจกรรมการเกษตรที่สร้างประโยชน์อย่างยั่งยืนให้เกษตรกรในตำบล โดยเกษตรกร
                  และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตัดสินใจในการผลิตสินค้าเกษตรที่เหมาะสมกับศักยภาพของที่ดิน อันจะทำให้ลด
                  ต้นทุนการผลิต และได้ผลตอบแทนสูงสุด โครงการพัฒนาคุณภาพดินพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ มี

                  มาตรการในการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกระยะของโครงการ เป็นต้น 3) การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง
                  ของทุกโครงการ โดยวิเคราะห์ความเสี่ยงครอบคลุมทั้งด้านกลยุทธ์ ด้านการดำเนินงาน ด้านการเงิน และ
                  ด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย/ระเบียบ เพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงที่โครงการจะไม่บรรลุผล
                  สำเร็จตามเป้าหมายยุทธศาสตร์และผละกระทบที่จะเกิดในทางลบ เช่น โครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขต

                  ชลประทาน โครงการแผนการใช้ที่ดินระดับตำบล โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by
                  Agri-Map) เป็นต้น ทั้งนี้ มีการรายงานผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของหน่วยงานเพื่อนำไปสู่
                  การแก้ไขปัญหาอย่างทันการณ์ ด้วยการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลที่ทันสมัย ได้แก่ 1) ระบบการรายงานแผน/
                  ผลการปฏิบัติงาน (สงป.) ผ่านเว็บไซต์เป็นการรายงานผลการดำเนินงานหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วน

                  ภูมิภาค เพื่อเป็นการติดตามการดำเนินงานตามแผนและนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างทันสถานการณ์ 2) ระบบ
                  ติดตามการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ เช่น ระบบฐานข้อมูลแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 3) ระบบ
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37