Page 31 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                  ดินอาสา การอบรมหมอดินอาสา 4.0 ประกวดเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อ
                  เกษตรกรรม/หมอดินอาสาดีเด่น และพัฒนาบ้านหมอดินอาสาที่ได้รับรางวัลให้เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี
                  การพัฒนาที่ดิน และ 5) การกำหนดตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการ สร้างความร่วมมือภายใน
                  หน่วยงานขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจและยุทธศาสตร์
                        พด. สร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้บุคลากรมีส่วนร่วม มีความมุ่งมั่นตั้งใจให้เกิดการทำงานอย่าง

                  สัมฤทธิ์ผล ดังนี้ 1) กิจกรรมงานวันดินโลก ปี 2564 2) กิจกรรมเดิน-วิ่งวันดินโลก 2020 Trail@Cesra
                  3) กิจกรรม พด.รักกันชวนกันเดิน-วิ่ง LDD Virtual Run 2021 4) กิจกรรมประชุมวิชาการกรมพัฒนาที่ดิน ปี
                  2564 5) กิจกรรมแสดงเจตจำนงต่อต้านการทุจริตเนื่องในวันต่อต้านการทุจริต 6) โครงการ "พด.รวมใจทำบุญ
                  ตักบาตร ชำระจิตใจ ใฝ่ในคุณธรรม" 7) กิจกรรมจิตอาสา 1 กระทรวง 1 การให้เพื่อคุณภาพที่ดีขึ้นในยุค new

                  normal : การบริจาคโลหิตเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2564 8) กิจกรรมร่วมรับบริจาคจากศรัทธา
                  พี่น้องกรมพัฒนาที่ดินเพื่อส่งมอบข้าวสารหอมมะลิไปยังชุมชน/โรงเรียน/วัดที่ได้รับความเดือนร้อนจาก
                  สถานการณ์โควิด-19 9) กิจกรรมประกวดรางวัลระดับหน่วยงานและระดับบุคคล 10) กิจกรรมเคารพธงชาติ
                  ไทยด้วยการยืนตรงเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสาและร้องเพลงชาติไทยโดยพร้อมเพรียงกัน

                        จากการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ด้วยวิธีการดังกล่าว ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมในการ
                  แก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน เช่น 1) การจัดทำแผนการใช้ที่ดินระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับตำบลตามแผน
                  ปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ทรัพยากรดิน ภายใต้ความร่วมมือของ พด. กับองค์กร
                  ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ใช้ประโยชน์อย่างมี

                  ประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์และภูมิสังคมของประเทศอย่างเหมาะสม และส่งเสริมให้มีการใช้ที่ดินตรงตาม
                  ศักยภาพของที่ดิน ซึ่งดำเนินการจัดทำข้อมูลพื้นฐานทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม มีการประชุม
                  ร่วมกับผู้นำชุมชน หมอดินอาสา เกษตรกร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ เช่น อบต. เกษตร

                  ตำบล เป็นต้น เพื่อชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ และความสำคัญของการจัดทำแผนการใช้ที่ดินระดับตำบล การ
                  วิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหาในพื้นที่ รวมถึงทราบความต้องการของเกษตรกรใน
                  การแก้ไขปัญหา และส่งผลให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ตรงตามความต้องการของชุมชน 2) โครงการพัฒนา
                  e-Service ตรวจสอบดินเพื่อการเกษตร ความล่าช้าเป็นปัญหาหลักที่มีเสียงสะท้อนจากผู้รับบริการที่มีความ
                  ต้องการบริการที่มากขึ้นในหลายปีที่ผ่านมา การลดขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัล

                  พัฒนาเป็น e-Service แบบ fully digital และเผยแพร่บน Application “ทางรัฐ” ร่วมกับสำนักงานพัฒนา
                  รัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และกรมบัญชีกลาง ทำให้ประชาชนสามารถขอรับบริการด้วยตนเองผ่าน
                  ระบบ e-Service หรือระบบ Citizen Service Platform การให้บริการประชาชนบน Citizen Portal โดย

                  Application “ทางรัฐ” ได้ตั้งแต่ขั้นตอนการยื่นคำขอรับ การชำระเงิน (กรณีบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้ประกอบ
                  อาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก) การติดตามสถานะ และการรับผลการวิเคราะห์ดิน ในขณะเดียวกันระบบ
                  บริหารจัดการ มีการเชื่อมโยงห้องปฏิบัติการ 13 แห่ง กระจายการบริการเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณ
                  ตัวอย่างจำนวนมากได้ นอกจากนี้ระบบยังพัฒนาให้สามารถเลือกรับบริการวิเคราะห์ดินด้วยชุดตรวจสอบ

                  ดินภาคสนาม ใช้เวลาโดยประมาณ 30 - 60 นาทีต่อตัวอย่างต่อครั้ง มีการให้บริการทั้ง 77 จังหวัดทั่ว
                  ประเทศ และ 3) โครงการนำร่องโรงเรียนหมอดินอาสาทางอากาศ จากสถานการณ์การระบาดของ
                  โรคติดต่อโควิด 19 ประกอบกับงบประมาณด้านการฝึกอบรมหมอดินอาสามีแนวโน้มลดลง ทำให้ต้องมีการ
                  ปรับแนวทางในการฝึกอบรมในระบบออนไลน์เพื่อให้ความรู้แก่หมอดินอาสา และเกิดการพัฒนากลุ่มหมอ

                  ดินอาสาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดช่วง พด. ได้ริเริ่มโครงการโรงเรียนหมอดินอาสาทางอากาศ โดยร่วมมือกับสถานี
                  วิทยุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการดำเนินงาน “โครงการนำร่องโรงเรียนหมอดินอาสาทางอากาศภาค
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36