Page 30 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                  ภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ประจำปี 2564 ระดับ A (94.47%) สูงขึ้นจากปี
                  2563 (79.47%)

                  1.3 การมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ผ่านการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก
                        พด. เน้นการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน สร้างการมีส่วนร่วมภายในองค์การ มีการพัฒนาจาก
                  ภายในภาคราชการ (Inside-out Approach) โดยการส่งเสริมให้ส่วนราชการปรับปรุงระบบหรือวิธี
                  บริหารงานให้เอื้อต่อการสร้างการมีส่วนร่วม  สร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะของการบริหารราชการแบบ
                  มีส่วนร่วมให้กับข้าราชการในระดับต่าง ๆ และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม การทำงานแบบมีส่วนร่วม
                  รวมทั้งส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดี สำหรับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภายนอก มีการพัฒนาจากภายนอกภาค

                  ราชการ (Outside-in Approach) โดยสนับสนุนการสร้างศักยภาพและโอกาสให้ภาคประชาชนได้เข้ามามี
                  ส่วนร่วมในการบริหารราชการ ด้วยการส่งเสริมให้มีการจัดเวที/การประชุม เพื่อสร้างความเข้าใจ
                  ประสานงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของเครือข่ายภาคประชาชน  รวมทั้งการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ
                  เพิ่มขีดความสามารถ และเพิ่มโอกาสเกษตรกรในการเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเป็นภาคีเครือข่าย และมีบทบาท
                  ร่วมทำงานกับภาครัฐในลักษณะหุ้นส่วนความร่วมมือ พด. มีแนวทางที่เอื้อให้เครือข่ายทั้งภายในและภายนอก
                  เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ 1) การจัดตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน เช่น
                  คณะกรรมการวันดินโลก คณะกรรมการวิชาการกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งมีการปรับการขับเคลื่อนงานวิชาการให้เกิด

                  การคิดและสร้างนวัตกรรมทุกหน่วยงานทั้งองค์การ โดยตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเพิ่มอีก 3 คณะ
                  และคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน นอกจากนี้ยังตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานเพื่อดำเนินงานเฉพาะเรื่อง
                  ที่ป็นนโยบายหรือโครงการสำคัญของ พด. เช่น  โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ คณะกรรมการ
                  บริหารโครงการฯ และคณะทำงาน 3 คณะ คือ คณะทำงานจัดทำคู่มือโครงการฯ คณะทำงานออกแบบสระ
                  น้ำและวางแบบมาตรฐานโครงการฯ และคณะทำงานจัดทำร่างขอบเขตงาน (TOR) นอกจากนี้ยังมีการบูร
                  ณาการงานร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ ตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ เป็นต้น

                  2) การขับเคลื่อนเครือข่ายความร่วมมือภายในและระหว่างประเทศ เช่น การขับเคลื่อนสมัชชาความร่วมมือ
                  ทรัพยากรดินแห่งประเทศไทย (THAI SOIL PARTNERSHIP : TSP) และสมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินแห่ง
                  ประเทศไทย การขับเคลื่อนงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (CESRA) รวมทั้งพัฒนา
                  เครือข่ายห้องปฏิบัติการของประเทศไทย 3) การสร้างความร่วมมือทางวิชาการ เช่น (1) โครงการความ
                  ร่วมมือทางวิชาการด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ ระหว่าง พด. และสถาบันอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งสาธารณรัฐ
                  ประชาชนจีน (The Institute of Soil and Water Conservation : ISWC) (2) โครงการความร่วมมือพัฒนา
                  เครือข่ายหมอดินอาสาระหว่าง พด. และประเทศในกลุ่มล้านช้าง-แม่โขง “โครงการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมเพื่อ
                  การขับเคลื่อนและขยายผลการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน (DS-SLM)” (3) ความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง

                  สถาบัน IRD สถาบัน INRA และกรมพัฒนาที่ดิน 4) การส่งเสริมการพัฒนา บุคลากร และการวิเคราะห์ การ
                  ใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้านทรัพยากรดินและที่ดิน ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหาร
                  ข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (GBDI) (4) การพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อ
                  สนับสนุนการวิเคราะห์และการใช้ประโยชน์ ข้อมูลขนาดใหญ่ในภาคการเกษตร ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจ
                  การเกษตร (สศก.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ
                  ดิจิทัล (5) โครงการ “ศาสตร์แห่ง แผ่นดิน วิถีเกษตรสู่ทางรอด” เด็กเรียนรู้ นิสิตเรียนสร้าง ครอบครัวเรียน

                  ทำ : เกษตร & เกษตร 2021 ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (6) การทำงานการพัฒนาจัดการดินเพื่อ
                  การเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับบริษัท อายิโนะโมะ โต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด (7) พัฒนาระบบ e-Service
                  ตรวจสอบดินเพื่อการเกษตร ร่วมกับสำนักงานรัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และกรมบัญชีกลาง 4) การ
                  สร้างและพัฒนาเครือข่ายหมอดินอาสา ยกระดับหมดินอาสาโดยส่งเสริมศักยภาพหมอดินอาสาผ่านโครงการ
                  ต่างๆ เช่น นำร่องโรงเรียนหมอดินอาสาทางอากาศร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดงานวันหมอ
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35