Page 28 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ขัดแย้งของผู้เข้าร่วมโครงการกับพื้นที่ข้างเคียงจากการขุดบ่อ โครงการพัฒนาคุณภาพดินพื้นที่ปลูกข้าวหอม
มะลิทุ่งกุลาร้องไห้ พด. มีมาตรการการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกระยะของโครงการตั้งแต่เริ่มวางแผน
ออกแบบ ก่อสร้าง และเปิดให้มีช่องทางการสอบถาม/แนะนำ หรือร้องเรียน ร้องทุกข์ ผ่านหน่วย
ประชาสัมพันธ์โครงการ และดำเนินกระบวนการทำความเข้าใจประนีประนอม และโครงการแผนการใช้ที่ดิน
ระดับตำบล ซึ่งได้ปรับกระบวนการทำงานให้มีการจัดทำกระบวนการมีส่วนร่วม (PRA) ของประชาชนเพื่อ
รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในระดับพื้นที่และยกร่างแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลให้มีความ
สอดคล้องกับภูมิสังคมและความต้องการและความคาดหวังของชุมชนและประชาชนในพื้นที่ และนำเสนอ
แผนต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
นอกจากนี้ ภายใต้บริบทในสังคมปัจจุบันที่เกิดปัญหาด้านสุขภาพอันเกิดจากบริโภคสินค้ามีการ
ปนเปื้อนของสารเคมี การเกิดมลพิษทางดิน น้ำ และอากาศ อันเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมที่ใช้
ทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19
ส่งผลให้เกิดแรงงานคืนถิ่น อธิบดี พด. ตระหนักและคำนึงถึงผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว จึงกำหนดชุมชน
ที่สำคัญออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ชุมชนทั่วไปที่อยู่บริเวณรอบ ๆ หน่วยงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
2) กลุ่มเกษตรกรที่เกิดจากการรวมกลุ่มดำเนินการโครงการของ พด. 3) เกษตรกรที่เป็นแรงงานคืนถิ่น และ
4) หมอดินอาสา โดย พด. วิเคราะห์ศักยภาพ องค์ความรู้ และเทคโนโลยีของหน่วยงาน และวิเคราะห์สภาพ
ปัญหาและความต้องการของชุมชนแต่ละกลุ่ม จากนั้นจึงจัดทำโครงการและกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อช่วย
บรรเทาหรือแก้ไขปัญหา สร้างความเข้มแข็งให้แต่ละชุมชน เช่น โครงการส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดใช้
สารเคมีทางการเกษตร โครงการส่งเสริมการไถกลบและผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อป้องกันหมอกและควันไฟใน
พื้นที่เกษตรภาคเหนือ โครงการเกษตรอินทรีย์ โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฏีใหม่ จัดกิจกรรมวัน
หมอดินอาสาภายใต้ธีมงาน“หมอดินอาสา ผู้นำพาอาหารปลอดภัย” เป็นต้น
1.2 การป้องกันทุจริตและสร้างความโปร่งใส
พด. สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเป็นองค์การที่มีคุณธรรมและความโปร่งใสโดยปลูกฝังค่านิยม TEAM
for Soil ทีมดีดินดี สร้างค่านิยมให้บุคลากรมีความสุจริตใจในการทำงาน สร้างทีมทำงานร่วมกัน รับฟัง
ความคิดเห็นเพื่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ให้เกิดการทำงานมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน เกิดความ
คล่องแคล่วและมีพลัง ทำงานอยู่บนพื้นฐานของความสุจริตและโปร่งใส มุ่งประโยชน์ให้เกิดกับเกษตรกร
และประชาชนเป็นสำคัญ โดยการกำหนดนโยบายด้านจริยธรรม ความโปร่งใส และหลักธรรมาภิบาล ตาม
พรฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการ
เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา มีวินัยและป้องกันและมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย
ตามมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เสริมสร้างและจัดฝึกอบรม
พัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย และป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย มีการเตรียมความ
พร้อมสร้างผู้นำต้นแบบที่ดี สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาพัฒนาตนเองเพื่อให้
เป็นข้าราชการที่ดี มีวินัย และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ และถอดความรู้
จากการฝึกอบรม จัดให้มีการปฐมนิเทศข้าราชการและพนักงานราชการเพื่อปลูกฝังและสร้างความเข้าใจ
เรื่องการแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากผลประโยชน์ส่วนรวม ด้วยวิธีการคิดฐานสอง รวมทั้งเรื่อง
วินัยข้าราชการ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการลงนามรับทราบในเรื่องมาตรฐานทาง
จริยธรรม ประมวลจริยธรรม และนำกรอบแนวคิดการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
ของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) มาประยุกต์ใช้ในการกำหนด
มาตรการเสริมสร้างให้เกิดความโปร่งใสภายในองค์การ ตามเกณฑ์การประเมินระดับคุณธรรมและความ
โปร่งใสฯ โดยได้เปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินการ การบริหารงบประมาณและอื่น ๆ ต่อสาธารณะ ได้แก่