Page 27 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
การสื่อสารอธิบดีกับรองอธิบดีในเชิงนโยบายและการบริหาร และ 2) การสื่อสารระดับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่
ซึ่งเป็นการทำงานแบบ Cross-function เพื่อขับเคลื่อนโครงการที่สำคัญของ พด. ผ่านการประชุม
คณะกรรมการ/คณะทำงาน และ Group Line ที่ตั้งกลุ่มเฉพาะตามโครงการสำคัญ และ 3) การสื่อสารระดับ
เจ้าหน้าที่กับเกษตรกรและเครือข่าย เป็นการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ พด. กับหมอดินอาสา เกษตรกร และ
เครือข่าย เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสื่อสารข้อมูลข่าวสาร พด. โดยช่องทางการสื่อสาร ประกอบด้วย สื่อ
บุคคล ได้แก่ ผู้บริหารตรวจเยี่ยมงานในระดับพื้นที่ และ เจ้าหน้าที่ของ พด. สื่อมวลชน ได้แก่ วารสารเผยแพร่
วิทยุ โทรทัศน์ สื่อดิจิทัล ได้แก่ ช่อง YouTube, Group Line, Facebook, Zoom, Web site, AI Chatbot :
คุยกับน้องดินดี จากรูปแบบและช่องทางการสื่อสารดังกล่าวส่งผลให้บุคลากรในสังกัด พด. มีการรับรู้และ
ความเข้าใจในทิศทางของ พด. สามารถดำเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
ผู้บริหารขับเคลื่อนค่านิยม TEAM for Soil ทีมดีดินดี เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมองค์การทำงานเป็นทีม
ทำงานเชิงรุกอย่างมีพลัง มีความคล่องแคล่ว มุ่งทำงานสู่เป้าหมายเดียวกัน เริ่มตั้งแต่สร้างทีมทำงานระดับ
ผู้บริหารและระดับเจ้าหน้าที่ในการกำหนดทิศทางและวางยุทธศาสตร์ และสร้างเวทีระดมความคิดเห็นของ
บุคลากร/ผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมกำหนดเป้าหมายและเกิดพลังในการ
ขับเคลื่อนองค์การไปสู่เป้าหมายเดียวกัน นอกจากนี้ผู้บริหารยังกระตุ้นบุคลากรให้ทำงานเป็นทีมโดย
สอดแทรกพฤติกรรมในการทำงานทุกงาน เช่น การสร้างทีมคณะทำงานวิชาการระดับหน่วยงานของทุก
กอง/สำนักทั้งหน่วยงานหลักและสนับสนุนเพื่อกระตุ้นให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในทีมเพื่อคิดค้นและ
สร้างนวัตกรรม จัดกิจกรรมกระตุ้นบุคลากรให้ทำงานเป็นทีม มีความคิดสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม และ
การทำงานโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุ้มค่า และความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจัดการ
ประกวดต่างๆ และส่งผลงานในรูปแบบของทีมทำงาน ได้แก่ 5ส ตามแนวทาง Smart Workplace for
Productivity Enhancement, การจัดระบบข้อมูลของหน่วยงาน, TEAM for Soil (ทีมดีดินดี), ระบบ
บริหารครุภัณฑ์, การบริหารงบประมาณและการใช้จ่ายงบประมาณ, Zero Waste, ความเป็นเลิศของ
หน่วยงาน และ Save Energy เป็นต้น รวมทั้งให้ตระหนักถึงความสำคัญการรับฟังความคิดเห็น การ
ให้บริการ และการมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ ของ พด. เช่น การทำประชาพิจารณ์ก่อนการจัดทำโครงการ
การเสริมเสริมกระบวนการให้บริการที่ดีโดยจัดประกวดมอบรางวัลต่างๆ เพื่อให้มีการพัฒนาและสร้าง
นวัตกรรมที่ตอบสนองผู้รับบริการ เช่น รางวัลชาวดินอวด(ของ)ดี การให้บริการ e-Service และรางวัล
LDD Service AWARDs เป็นต้น
ด้านการกำกับดูแลองค์การ อธิบดี พด. มีนโยบายมุ่งเน้นการปฏิบัติราชการที่มีประสิทธิภาพ มี
ธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งระบบการกำกับดูแลของ พด. ได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยอธิบดี
ในฐานะผู้นำสูงสุด (CEO) ได้มอบอำนาจให้รองอธิบดีเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (CCO) ผู้บริหารเทคโนโลยี
สารสนเทศระดับสูงระดับกรม (DCIO) และผู้บริหารข้อมูลระดับสูง (CDO) รวมทั้งรับผิดชอบและกำกับดูแล
การปฏิบัติงานแต่ละด้าน โดยบริหารงานในลักษณะข้ามสายงาน (Cross - functional team) ในรูปแบบ
คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานชุดต่าง ๆ ซึ่งตั้งขึ้นมาอย่างเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน
(network) เพื่อรับผิดชอบในการวางแผน ออกแบบ กำหนดแนวทางวางมาตรการ และขับเคลื่อนนำไปสู่การ
ปฏิบัติ ตลอดจนการกำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการ รวมทั้งมีการกำหนดนโยบายกำกับ
องค์การที่ดี (Organizational Governance) เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ข้อสั่งการและนโยบายจะไม่ก่อให้เกิด
ผลกระทบทางลบต่อระบบหรือสังคมโดยรวม เช่น โครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน กำหนดข้อ
ปฏิบัติให้การเลือกสถานที่ขุดแหล่งน้ำ ขอบบ่อจะต้องห่างจากพื้นที่ข้างเคียงตามกฎหมายกำหนด เพื่อลดความ