Page 25 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                  2) เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูง 3) เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตต่ำ ข้อมูลดังกล่าวนำไปสู่
                  การทบทวนและปรับปรุงเครื่องมือ LDD Excellent Model แสดงดังภาพที่ 1.1 ทำให้สามารถกำหนดแนว
                  ทางการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจน โดยพื้นที่เขตเกษตรกรรมชั้นดี เป็นเขตที่ควรคุ้มครองไว้เป็นแหล่ง

                  ผลิตสินค้าเกษตรเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารและการส่งออก โดยพัฒนา ยกระดับ และเพิ่มมูลค่าสินค้า
                  เกษตร สำหรับเขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูงเป็นเขตที่ควรสงวนไว้เพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรมในการ
                  ผลิตอาหารและสินค้าเกษตรของประเทศ โดยพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดิน และเขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพ
                  การผลิตต่ำ ลักษณะพื้นที่มีความเหมาะสมในการผลิตทางการเกษตรค่อนข้างต่ำ หรือไม่เหมาะสมกับการผลิต
                  สินค้าเกษตร ควรเพิ่มผลิตภาพและลดความเสื่อมโทรของดิน นอกจากนี้ยังแบ่งเขตพื้นที่เฉพาะ เป็นเขต

                  เกษตรกรรมที่มีศักยภาพพัฒนาด้านอื่นๆ
                        เครื่องมือดังกล่าวนำไปสู่การทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมองค์การใหม่ โดยทีมผู้บริหาร
                  ระดับสูง ได้แก่ อธิบดี รองอธิบดี และผู้อำนวยการกอง/สำนัก ได้ร่วมกันทบทวนสภาพแวดล้อมภายในและ

                  ภายนอกองค์การ โดยใช้เครื่องมือ 6Cs Analysis ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์การ การระบุผู้รับบริการ
                  และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แท้จริงขององค์การ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขันขององค์การ การ
                  วิเคราะห์ กฎ ระเบียบ กติกา ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน การวิเคราะห์
                  แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในอนาคตที่จะส่งผลกระทบถึงองค์การ และการวิเคราะห์ความท้าทาย ข้อ

                  ได้เปรียบ และโอกาสที่สำคัญ ทำให้ได้มาซึ่งการกำหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจ รวมทั้งค่านิยมองค์การดังนี้
                  วิสัยทัศน์ “เป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน เพื่อขับเคลื่อนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม 15 ล้านไร่ ภายในปี
                  2570” ประกอบ 5 พันธกิจ คือ 1) สำรวจ วิเคราะห์ จำแนกดิน และสำมะโนที่ดิน เพื่อวางแผนการใช้ที่ดิน
                  ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2) พัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการดินที่สอดคล้อง

                  และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ 3) สร้างศูนย์กลางข้อมูลอัจฉริยะทางดินของประเทศ เพื่อบริหารจัดการ
                  ทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืน 4) พัฒนาที่ดินด้วยระบบการบริหารจัดการเชิงรุก ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม
                  ด้านการวางแผน ถ่ายทอดเทคโนโลยี อนุรักษ์ดินและน้ำ และปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อรักษาสมดุลความเสื่อม
                  โทรมของที่ดินและนิเวศเกษตร และ 5) ยกระดับองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรรม โดยกำหนด

                  ค่านิยม “TEAM for Soils (ทีมดีดินดี)” T : Team work (สร้างทีม) E : Energetic (ทำงานเชิงรุกอย่างมี
                  พลัง) A : Agile (คล่องแคล่ว) และ M : Move forward (มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน)
                        ผู้บริหาร พด. ได้กระตุ้นเตือนให้บุคลากรทำงานโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ให้มีการทบทวน

                  แผนงานโครงการและกิจกรรม โดยคำนึงถึงหลักความคุ้มค่า การประหยัดทรัพยากร และเกิดประโยชน์
                  สูงสุดกับประชาชนเป็นสำคัญ ผลักดันการปรับปรุงกระบวนงานและสร้างนวัตกรรม โดยสร้างบรรยากาศ
                  และกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบให้บุคลากรสร้างเครือข่ายการทำงาน เกิดการทำงานเป็นทีม และนำ
                  เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนงาน เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการงานพัฒนาที่ดิน โดย
                  ยังคงใช้เครื่องมือ Smart LDD ในการยกระดับการเพิ่มผลิตภาพของ พด. ใน 4 Smart ตามภาพที่ 1.2 ดังนี้

                  1) Smart Collaboration  สานพลังจากทุกภาคส่วน สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านดินภายในและระหว่าง
                  ประเทศ เช่น การพัฒนาเครือข่ายหมอดินอาสา เครือข่ายโครงการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมเพื่อการขับเคลื่อน
                  และขยายผลการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน (Decision Support for Mainstreaming and Scaling up

                  Sustainable Land Management : DS-SLM) การขับเคลื่อนสมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินแห่งภูมิภาค
                  เอเชีย (ASP) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (CESRA) สมาคมดินโลก และสมัชชาความ
                  ร่วมมือทรัพยากรดินแห่งประเทศไทย โดยยกระดับการทํางานให้สูงขึ้นไปกว่าการประสานงานกัน หรือทํางาน
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30