Page 24 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                                                          ส่วนที่ 2
                              การดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0
                  หมวด 1 การนำองค์การ
                  1.1 ระบบการนำองค์การที่สร้างความยั่งยืน
                        กรมพัฒนาที่ดิน (พด.) มีภารกิจในการดูแลรักษาทรัพยากรดินครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งประเทศ
                  153 ล้านไร่ โดยขับเคลื่อนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม ด้วยการพัฒนาพื้นที่ตามศักยภาพของที่ดิน และความ

                  ต้องการของเกษตรกร ชุมชน และภาคีเครือข่าย (Partnership) ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และเทคโนโลยี
                  การจัดการดิน เพื่อรักษาสมดุลความเสื่อมโทรมของที่ดินและนิเวศเกษตร ระบบการนำองค์การของ พด. ได้รับ
                  การพัฒนาและกำหนดขึ้นจากกระบวนการมีส่วนร่วมของคณะผู้บริหารระดับสูงทั้งในอดีตและปัจจุบัน การ
                  ประชุมระดมความคิดเห็น

                  ของคณะกรรมการและ
                  คณะทำงานเพื่อใช้เป็น
                  แนวทางในการนำพา พด.
                  ไปสู่การบรรลุ วิสัยทัศน์

                  พันธกิจ เป้าประสงค์ตาม
                  ภารกิจและบทบาทหน้าที่
                  ตามกฎหมายที่กำหนดได้
                  อย่างมีประสิทธิภาพ

                  ประสิทธิผล และอย่างมี
                  ธรรมาภิบาล จากเดิมกรม
                  ใช้ฐานข้อมูลทรัพยากรดิน

                  ของประเทศไทย (Soil
                  Map) ซึ่งมีการจัดชั้นความ
                  เหมาะสมของดิน จำแนก
                  ตามการบริหารจัดการ                   ภาพที่ 1.1 ระบบการบริหารจัดการ LDD Excellent Model
                  พื้นที่ตามศักยภาพของพื้นที่เกษตร (Zoning) นำไปสู่การออกแบบระบบการจัดการ “LDD Excellent

                  Model” เป็นเครื่องมือการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ของ พด. เมื่อ
                  ใช้เครื่องมือ LDD Excellent Model ไประยะหนึ่ง ทำให้ทราบถึงปัญหาการนำข้อมูลไปใช้ใน
                  กระบวนการพัฒนาที่ดินในระดับพื้นที่ ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันด้านทรัพยากรดิน มีข้อจำกัดในการ

                  ขยายพื้นที่ เกษตกรรม ปัญหาด้านความไม่สมดุลอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตร ปัญหาการใช้ที่ดินผิด
                  ประเภท ปัญหาการถือครองที่ดิน และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่ง
                  ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 72 (1) ได้กำหนดให้มีการวางแผนการใช้ที่ดินของประเทศไทย
                  ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น พด. จึงดำเนินการ

                  วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลและสารสนเทศของข้อมูล ประกอบด้วย สถานภาพทรัพยากรของประเทศ
                  ไทย และสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นโยบายรัฐบาล และยุทธศาสตร์
                  การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ใช้เครื่องมือ DPSIR และระบบการจัดทำแผนการใช้ที่ดินของ FAO จัดทำประชา
                  พิจารณ์ และจัดทำเป็น “แผนการใช้ที่ดินของประเทศไทย” จากพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 153.18 ล้านไร่

                  ในพื้นที่ดังกล่าวกำหนดเขตพื้นที่ความเหมาะสมกับเกษตรกรรม แบ่งเป็น 3 เขต คือ 1) เขตเกษตรกรรมชั้นดี
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29