Page 21 - การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กรมพัฒนาที่ดิน
P. 21
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2.2.4 จัดสภาพแวดล้อมที่ดีที่สามารถป้องกันปัญหาการล่วงละเมิด
หรือคุกคามทางเพศในการท างาน เช่น กล้องวงจรปิด แสงไฟหรือแสงสว่างเพียง เปิดเผย โล่ง มองเห็น
ได้ชัดเจน เป็นต้น
2.2.5 จัดให้มีช่องทางและก าหนดหน่วยงานรับผิดชอบในการรับเรื่องร้องเรียน
กรณีการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในหน่วยงาน ที่ท าให้ผู้ร้องเรียนมีความมั่นใจได้ว่า
ได้ด าเนินการได้อย่างเหมาะสม
3. ลักษณะการกระท าอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศเป็นเรื่องที่มีขอบเขตกว้างขวาง ซึ่งไม่สามารถ
ระบุพฤติกรรมได้อย่างครอบคลุมทั้งหมด อย่างไรก็ตามให้ตระหนักว่าการกระท าเกี่ยวกับเรื่องเพศ
ซึ่งผู้ถูกกระท าไม่ต้องการและมีความรู้สึกเดือดร้อนร าคาญ อึดอัด อับอาย ถูกดูถูกเหยียดหยาม
ถือว่าเข้าข่ายการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ โดยลักษณะของการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
อาจสามารถสรุปได้ ดังนี้
3.1 การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศอาจมีลักษณะแตกต่างกันออกไป
ซึ่งตัวอย่างของการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมมีดังนี้
3.1.1 จับเนื้อต้องตัว จับก้น หน้าอก รวมทั้งส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
โดยที่ไม่ได้รับการเชื้อเชิญหรือยินยอมอย่างเต็มใจของอีกฝ่ายหนึ่ง
3.1.2 พูดจาลวนลามเรื่องเซ็กส์ท าให้เกิดความกระอักกระอ่วนใจ เช่น
พูดหยอกล้อเรื่องหน้าอกของผู้หญิง เรื่องอวัยวะเพศของผู้ชาย
3.1.3 บังคับหรือชักชวนให้ไปออกเดทหรือนอนด้วย
3.1.4 จ้องมองเรือนร่างด้วยสายตาที่ส่อก าหนัด
3.1.5 พูดจาหรือท ากิริยาดูถูกเหยียดหยาม กีดกัน และรังเกียจ
บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
3.2 การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศที่เข้าข่ายจะได้รับการพิจารณาว่า
เป็นการล่วงละเมิดคุกคามทางเพศในการท างานมีดังนี้
3.2.1 การวิจารณ์ด้วยค าพูดลามกอนาจารหรือหยาบคาย การใช้ความก้าวร้าว
รวมถึงการข่มขู่ทั้งกายและวาจาอย่างเปิดเผยในลักษณะการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
3.2.2 การกีดกันและขับไล่ออกจากกลุ่มและปฏิเสธที่จะมอบหมายงาน
หากไม่ด าเนินการตามข้อเสนอในทางชู้สาว
3.2.3 การขู่บังคับในทางชู้สาวโดยอาศัยอ านาจหน้าที่ที่เหนือกว่า
ในการให้คุณให้โทษ
3.2.4 การมีพฤติกรรมรบเร้า ร้องขอหรือกระท าการอื่น ๆ โดยวาจาหรือ
การกระท าทางกาย เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการปฏิบัติงานหรือการข่มขู่
และสร้างสภาพกดดันในการท างาน