Page 26 - การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กรมพัฒนาที่ดิน
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                                     ดังนั้น การพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้กระท าและผู้ถูกกระท านั้น หากมองถึง
                       วัฒนธรรมประเพณีของไทยแล้ว จะเห็นได้ว่าสังคมไทยยังให้ความส าคัญในเรื่องการประพฤติปฏิบัติตน
                       ที่เหมาะสมระหว่างเพศ โดยเพศชายต้องให้เกียรติเพศหญิง ไม่สัมผัสร่างกายของฝ่ายหญิง
                       โดยที่ฝ่ายหญิงนั้นไม่เต็มใจ และฝ่ายหญิงเองก็ต้องวางตนให้เหมาะสม ไม่ประพฤติปฏิบัติตนที่ส่อ

                       ให้เห็นว่าเป็นการเกินสมควรหรือเกินงาม การพูดคุยหยอกล้อหรือล้อเล่นกันก็ต้องมีขอบเขต หรือ
                       แม้แต่การใช้ค าพูดหยาบคาย ก็เป็นสิ่งที่สังคมไทยบางส่วนยังไม่ยอมรับ ฉะนั้นจึงต้องพิจารณาว่า
                       การหยอกล้อ ล้อเล่น หรือการประพฤติปฏิบัตินั้น เข้าข่ายเป็นการคุกคามทางเพศหรือไม่
                       จึงต้องพิจารณาจากสังคมของผู้กระท าและผู้ถูกกระท าด้วย เพราะบางครั้งแต่ละสังคมก็มีการยอมรับ

                       ที่แตกต่างกันออกไป

                       4. สิ่งที่ควรกระท าเมื่อถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ


                                     4.1  แสดงออกทันทีว่าไม่พอใจในการกระท าของผู้กระท า และถอยห่าง
                       จากการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศนั้น

                                     4.2  ส่งเสียงร้องเพื่อให้ผู้กระท าหยุดการกระท า และเรียกผู้อื่นช่วย
                                     4.3  บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการบันทึกเสียง บันทึกภาพหรือถ่ายภาพ
                       หรือถ่าย video clip (หากท าได้)
                                     4.4  บันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีที่เหตุการณ์เกิดขึ้น
                       โดยจดบันทึก วัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ ค าบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ชื่อของพยานและ/หรือ

                       บุคคลที่สาม ซึ่งถูกกล่าวถึง หรืออยู่ในเหตุการณ์
                                     4.5  แจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นให้บุคคลที่ไว้ใจทราบทันที
                                     4.6  หารือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อน และแจ้งปัญหา

                       ที่เกิดขึ้นกับผู้บังคับบัญชา บุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วยตนเอง โดยอาจให้เพื่อนร่วมงาน
                       เป็นที่ปรึกษาหรือร่วมไปเป็นเพื่อนก็ได้
                                     4.7  กรณีผู้ถูกกระท าอาย/กลัว อาจให้เพื่อนมาแจ้งแทน แต่ต้องได้รับความยินยอม
                       จากผู้ถูกกระท า


                       5. หลักการพื้นฐานในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ


                                     การช่วยเหลือผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ควรด าเนินการตามหลักการพื้นฐาน
                       ดังนี้
                                     5.1  การรับฟังผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศอย่างตั้งใจ ด้วยความเห็นใจ
                       และไม่ตัดสินถูกผิด เพื่อให้ผู้ถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศมีโอกาสที่จะพูดในสิ่งที่ตนต้องการ

                       กับบุคคลที่ต้องการให้ความช่วยเหลือ ในที่ปลอดภัยและเป็นส่วนตัว การรับฟังเป็นส่วนส าคัญที่สุด
                       ที่จะเยียวยาทางด้านอารมณ์
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31