Page 24 - การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กรมพัฒนาที่ดิน
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                                     ข้อสังเกต : การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างานนั้นไม่ได้หมายถึง
                       การกระท าที่เกิดขึ้นเฉพาะในที่ท างานเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงสถานที่ท างานประจ า
                       สถานที่ที่ไปประชุมหรือปฏิบัติงานนอกสถานที่ เป็นต้น โดยการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ

                       เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน ซึ่งรวมถึงกรณีที่ผู้ถูกกระท าและผู้กระท า เป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
                       และไม่จ าเป็นว่าจะต้องเป็นการกระท าต่อเพศตรงข้าม อาจเป็นได้ทั้งผู้ชายกระท าต่อผู้หญิง

                       ผู้หญิงกระท าต่อผู้ชาย หรือแม้แต่ผู้ชายกระท าต่อผู้ชาย และผู้หญิงกระท าต่อผู้หญิง หรือผู้กระท า
                       อาจเป็นหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน หรือคนที่เกี่ยวข้องกับที่ท างาน นอกจากนี้ การล่วงละเมิดหรือคุกคาม

                       ทางเพศที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นการกระท าอันไม่เป็นที่พึงปรารถนาของผู้ถูกกระท า หากว่าผู้ถูกกระท า
                       มีความพึงพอใจหรือยินยอมต่อการกระท าอันเป็นการคุกคามของผู้กระท านั้นก็ไม่เข้าข่ายการกระท า

                       อันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ

                                     อย่างไรก็ตาม จะเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศจะต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
                       การกระท าอย่างเดียวกันโดยบุคคลหนึ่งอาจเข้าองค์ประกอบเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศได้
                       แต่หากกระท าโดยอีกบุคคลหนึ่งอาจไม่ใช่การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศก็ได้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็น

                       การยากที่จะพิจารณาว่าการกระท าใดจะเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศหรือการหยอกล้อ
                       ทักทายหรือการจับต้องในฐานะเพื่อนร่วมงาน หรือพี่น้องในที่ท างาน โดยไม่มีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง
                       การวินิจฉัยถึงต้องดูเจตนา ของผู้กระท าเป็นส าคัญ ซึ่งค าว่าเจตนา หมายถึง การกระท าที่ผู้กระท า
                       รู้ส านึกในการที่กระท า และขณะเดียวกันผู้กระท าประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระท านั้น
                       ตามหลักที่ว่า กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา เมื่อเป็นการยากที่ลากเส้นคั่นระหว่างการหยอกล้อฉันท์เพื่อนร่วมงาน

                       หรือการคุกคามทางเพศ จึงต้องมีการตีความลักษณะของกรรมหรือการกระท า ในแต่ละเรื่อง
                       แต่ละครั้งที่เกิดขึ้นเพื่อให้รู้ว่า เจตนาของผู้กระท าในการพิจารณากรรม หรือการกระท านั้น
                       ควรจะต้องมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้พิจารณา โดยปกติในการพิจารณาว่ามีการล้ าเส้นเข้าข่าย

                       เป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศหรือไม่นั้น มีข้อสังเกตว่าการใช้วิจารณญาณของผู้พิจารณา
                       ในแต่ละเรื่องไม่ควรจะต้องตั้งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีการสมยอมกันหรือผู้เสียหาย sensitive เกินไป
                       หรือพิจารณาพฤติกรรมทั่วไปของผู้กระท าครั้งก่อน ๆ มาประกอบการพิจารณา แต่ควรท า
                       ในลักษณะเฉพาะเรื่อง หรือ case by case basis จริง ๆ

                                     การพิจารณาว่าเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศหรือไม่นั้น อาจพิจารณา
                       ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้กระท าและผู้ถูกกระท า โดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ตามตัวอย่างเหล่านี้ประกอบ
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29