Page 19 - การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กรมพัฒนาที่ดิน
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน หมายถึง การกระท าที่เกิดขึ้น
ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานกระท าต่อเพื่อนร่วมงานด้วยกัน
ครูกับนักเรียน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานกับผู้ที่ด าเนินงานร่วมกับหน่วยงาน เช่น นักศึกษาฝึกงาน
ผู้รับจ้าง หรือผู้รับบริการ เป็นต้น โดยอาจมีการสร้างเงื่อนไขที่มีผลต่อการจ้างงาน การสรรหา หรือ
การแต่งตั้ง หรือผลกระทบอื่นใดต่อผู้เสียหายทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษา
การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน สามารถเกิดขึ้นได้ ในส านักงาน สถานที่จัดงาน
ของบริษัท สถานที่ที่ได้รับมอบหมายให้ไปท างาน สถานที่ประชุมและฝึกอบรม รวมถึงระหว่าง
การปฏิบัติงาน เช่น ระหว่างการเดินทางไปปฏิบัติงาน ระหว่างการใช้โทรศัพท์ประสานงาน
หรือระหว่างการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสาร เป็นต้น
ก. ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม หมายถึง สถานที่และสภาพแวดล้อมทั้ง
ภายในและภายนอกองค์การ เช่น บริเวณสถานที่โดยรอบองค์การ ลักษณะหรือตัวอาคาร
ที่ผู้ปฏิบัติงานท างานอยู่ ห้องท างาน แสงสว่าง ระบบรักษาความปลอดภัย เป็นต้น รวมถึงบรรยากาศ
ภายในสถานที่ท างานที่ไม่เป็นมิตร ก่อให้เกิดความอึดอัดไม่สบายใจโดยมีพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องเพศ
เช่น การก าหนดบทบาทและการแสดงออกของเพศชายต่อเพศหญิง การติดภาพผู้หญิงในสภาพ
โป๊เปลือยไว้ในสถานที่ท างาน ฯลฯ ซึ่งอาจส่งผลหรือน าไปสู่การเกิดการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ในการท างาน
ข. ด้านตัวบุคคล หมายถึง ลักษณะภายนอกของผู้ถูกการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ในการท างาน เช่น รูปร่างหน้าตา การแต่งกาย เป็นต้น รวมไปถึงผู้กระท า และเพื่อนร่วมงาน
ผู้ที่รับรู้ปัญหาหรือเหตุการณ์การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างานแล้วไม่เปิดเผย
ค. ด้านผลกระทบ หมายถึง ผลกระทบที่เกิดจากการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ในการท างาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ถูกกระท าหรือเหยื่อ ผลกระทบต่อความมั่นคงในหน้าที่การงาน
และผลกระทบต่อองค์กร
ง. ด้านแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันและแก้ไขการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ในการท างาน หมายถึง วิธีการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือการปฏิบัติต่อบุคคลอื่น
ในด้านเพศ อันเป็นการดูหมิ่น เหยียดหยามและความประพฤติที่ไม่เหมาะสมอันจะน าไปสู่ปัญหา
การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงด้วยกัน การน าเสนอ
การอบรมทางศีลธรรมจริยธรรม การออกกฎเกณฑ์หรือมาตรการที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น รวมไปถึง
หากถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างานแล้ว หลังจากนั้นผู้ถูกกระท ามีวิธีการแก้ไขปัญหา
อย่างไร