Page 16 - การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กรมพัฒนาที่ดิน
P. 16
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
10. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 และวันที่ 21 เมษายน 2563
คณะรัฐมนตรี ในคราวประชุม เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 และวันที่ 21 เมษายน 2563
ได้มีมติเห็นชอบมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน
และให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติ โดยครอบคลุมถึงการประกาศเจตนารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษร
การจัดท าแนวปฏิบัติตามมาตรการฯ การให้ความรู้และสร้างความตระหนักกับบุคลากรในองค์กร
การก าหนดกลไกการร้องทุกข์ภายในหน่วยงาน การจัดการข้อร้องเรียนหรือร้องทุกข์ การคุ้มครอง
ผู้ร้องทุกข์และผู้เป็นพยาน และการคุ้มครองผู้ถูกกล่าวหา กล่าวคือ
1. หน่วยงานต้องมีประกาศเจตนารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษร (เช่น ประกาศ ค าสั่ง)
โดยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในองค์กรทราบอย่างทั่วถึง ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท างาน
2. หน่วยงานต้องมีการจัดท าแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิด
หรือคุกคามทางเพศในการท างาน ที่ครอบคลุมบุคลากรทุกคนที่ท างานในหน่วยงานภาครัฐและ
ภาคเอกชน รวมทั้งผู้ที่ด าเนินงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน เช่น นักศึกษา นักศึกษาฝึกงาน ผู้รับจ้าง ฯลฯ
โดยให้บุคลากรในหน่วยงานได้มีส่วนร่วมเพื่อเกิดการเรียนรู้และยอมรับ รวมทั้งต้องประชาสัมพันธ์
เพื่อสร้างความตระหนักแก่บุคลากรทุกคนในหน่วยงานได้รับทราบและถือปฏิบัติ
3. หน่วยงานต้องแสดงเจตนารมณ์อย่างจริงจังในการส่งเสริมความเท่าเทียมกัน
ระหว่างบุคคล เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติต่อกันอย่างให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน โดยเน้น
การป้องกันปัญหาเป็นพื้นฐาน ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ
รวมทั้งก าหนดให้เป็นประเด็นหนึ่งในหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ
4. หน่วยงานต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการล่วงละเมิด
หรือคุกคามทางเพศ และแนวทางในการแก้ไขในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี
โดยค านึงถึงเรื่องพื้นที่ปลอดภัยในองค์กร เช่น จัดห้องท างานที่เปิดเผย โล่ง มองเห็นกันได้ชัดเจน เป็นต้น
5. หน่วยงานต้องก าหนดกลไกการร้องทุกข์ภายในหน่วยงาน (เช่น ฝ่ายการเจ้าหน้าที่
ฝ่ายกฎหมาย หรือกลุ่มคุ้มครองจริยธรรม)
6. การแก้ไขและการจัดปัญหาอาจใช้กระบวนการอย่างไม่เป็นทางการ เช่น
การพูดคุยกันอย่างเป็นมิตร การประนอมข้อพิพาท ฯลฯ เพื่อยุติปัญหา หากกระบวนการไม่เป็นทางการ
ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงจะเข้าสู่กระบวนการทางวินัยตามกฎหมายที่หน่วยงานนั้นถือปฏิบัติอยู่
7. การแก้ไขและจัดการปัญหาต้องด าเนินการอย่างจริงจังโดยทันทีและเป็นไปตาม
เวลาที่ก าหนดในแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ในการท างาน และต้องเป็นความลับ เว้นแต่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายยินดีให้เปิดเผย รวมทั้งให้ความเป็นธรรม
ต่อทั้งสองฝ่ายเท่าเทียมกัน กรณีที่ขยายเวลาออกไป ต้องมีเหตุผลที่ดีพอ