Page 14 - การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กรมพัฒนาที่ดิน
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน











                                     นอกจากนั้น หากพิจารณาบทบัญญัติตามมาตรา 84 แล้ว จะเห็นได้ว่า กฎหมาย
                       ก าหนดให้การกระท าผิดฐานล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศเป็นการกระท าผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
                       และเมื่อพิจารณามาตรา 85 ซึ่งบัญญัติลักษณะความผิดวินัยที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงแล้ว

                       ปรากฏว่า ไม่มีฐานความผิดเกี่ยวกับการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ท าให้มีข้อสังเกตว่า
                       เพราะเหตุใดจึงไม่มีบทบัญญัติความผิดฐานล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศที่เป็นความผิดวินัย
                       อย่างร้ายแรงในพระราชบัญญัติฉบับนี้
                                     อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 85 (4) ซึ่งเป็นความผิดฐานกระท าการ

                       อันได้ชื่อว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงแล้ว ซึ่งมีแนวทางการพิจารณา คือ
                                     1. เป็นการกระท าที่ท าให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของต าแหน่งหน้าที่ราชการ
                                     2. เป็นการกระท าที่สังคมรู้สึกรังเกียจหรือเป็นที่รังเกียจของสังคม
                                     3. เป็นการกระท าโดยมีเจตนาชั่ว

                                     ดังนั้น หากปรากฏว่าการกระท าของข้าราชการพลเรือนสามัญรายใดเข้าข่าย
                       เป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศอันมีลักษณะที่ท าให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของต าแหน่ง
                       หน้าที่ราชการ สังคมรู้สึก รังเกียจ และเป็นการกระท าโดยมีเจตนาชั่วโดยพฤติกรรมนั้นมีลักษณะร้ายแรง

                       ก็อาจเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา 85 (4) ได้

                       6. พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562


                                     มาตรา 5  มาตรฐานทางจริยธรรม คือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม
                       ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะต้องประกอบด้วย
                                     (6) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ

                                     มาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เป็นหลักส าคัญในการจัดท าประมวล
                       จริยธรรมของหน่วยงานของรัฐที่จะก าหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                       เกี่ยวกับสภาพคุณงามความดีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยึดถือส าหรับการปฏิบัติงาน การตัดสินความถูกผิด
                       การปฏิบัติที่ควรกระท า หรือไม่ควรกระท า ตลอดจนการด ารงตนในการกระท าความดีและละเว้นความชั่ว


                       7. ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน


                                     ข้อ ๒  ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติตนเพื่อรักษาจริยธรรม ดังต่อไปนี้
                                     (๖) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ และไม่เลือกปฏิบัติ
                       โดยการใช้ความรู้สึก หรือความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือเหตุผลของความแตกต่างทางเชื้อชาติ
                       ศาสนา เพศ อายุ สภาพร่างกาย สถานะทางเศรษฐกิจสังคม และต้องรักษาความเป็นกลางทางการเมือง

                       โดยไม่อาศัยต าแหน่งหน้าที่ ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นการให้คุณให้โทษแก่นักการเมืองและพรรคการเมือง
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19