Page 11 - การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กรมพัฒนาที่ดิน
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                                     มาตรการที่รัฐก าหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือ
                       เสรีภาพ ได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออ านวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ
                       คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
                                     บุคคลผู้เป็นทหาร ต ารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้าง

                       ขององค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปเว้นแต่ที่จ ากัดไว้ในกฎหมายเฉพาะ
                       ในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัยหรือจริยธรรม

                       2. พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558


                                     ถือเป็นกฎหมายที่แสดงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการส่งเสริมความเสมอภาค
                       ระหว่างเพศ โดยก าหนดการห้ามการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ อันหมายถึงการกระท า

                       หรือไม่กระท าการใด อันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจ ากัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรง
                       หรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือ
                       มีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยก าเนิด


                       3. ประมวลกฎหมายอาญา

                                     มาตรา 397  ผู้ใดกระท าด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง

                       คุกคาม หรือกระท าให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนร าคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
                                     ถ้าการกระท าความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระท าในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้า

                       ธารก านัลหรือเป็นการกระท าอันมีลักษณะส่อไปในทางที่จะล่วงเกินทางเพศ ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกิน
                       หนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ
                                     ถ้าการกระท าความผิดตามวรรคสองเป็นการกระท าโดยอาศัยเหตุที่ผู้กระท า
                       มีอ านาจเหนือผู้ถูกกระท าอันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือ

                       ผู้มีอ านาจเหนือประการอื่น ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินหนึ่งเดือน และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
                                     พนิดา โรจน์รัตนชัย (2553) ได้กล่าวไว้ว่า กฎหมายไทยไม่ได้ก าหนดค าจ ากัดความ
                       ของค าว่า “การคุกคามทางเพศ” ไว้ และ ไม่ได้ก าหนดความผิดฐานนี้ไว้เป็นการเฉพาะ แต่กฎหมายอาญา

                       ของไทยได้ก าหนดความผิด ฐานข่มขืนกระท าช าเรา อนาจาร หมิ่นประมาท และดูหมิ่นไว้ ซึ่งมีปัญหา
                       ว่าการคุกคามทางเพศ แค่ไหนเพียงไรจะเป็นความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา
                                     ในส่วนของการกระท าทางกายนั้น ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเรื่องความผิดทางเพศ
                       ฐานกระท า “อนาจาร” ปัญหาว่าอะไรคือ การกระท า “อนาจาร” ซึ่งจะเป็นความผิดทางอาญา
                       กฎหมายไม่ได้จ ากัดความไว้ แต่อาจสรุปได้จากค าพิพากษาศาลฎีกาต่าง ๆ ได้ว่า หมายถึงการกระท า

                       ให้อับอายขายหน้าทางเพศโดยกระท าต่อเนื้อตัวร่างกายโดยตรง เช่น กอด ปล้ า สัมผัส จับต้อง
                       แม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เช่น การจับมือถือแขน น่อง หน้าอก สะโพก ไหล่ ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16