Page 12 - การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กรมพัฒนาที่ดิน
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                       ต่างกับกรณี “ข่มขืนกระท าช าเรา” โดยผู้ถูกกระท าอนาจารไม่จ ากัดว่าจะต้องเป็นหญิง แม้แต่ผู้ชาย
                       ก็อาจเป็นผู้เสียหายถูกกระท าอนาจารได้ นอกจากนี้ กฎหมายยังก าหนดว่า การกระท าอนาจาร
                       ต้องมีองค์ประกอบของความผิดเป็นการใช้ก าลังประทุษร้ายโดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถ
                       ขัดขืนได้ ซึ่งค าพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2503 ได้วางหลักไว้ว่า “การจับมือและกอดหญิงของ

                       ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการใช้แรงกายภาพจึงเป็นการใช้ก าลังประทุษร้าย”

                       4. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

                         แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

                                     มาตรา ๑๖  ห้ามมิให้นายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงานกระท าการ

                       ล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนร าคาญทางเพศต่อลูกจ้าง
                                     พนิดา โรจน์รัตนชัย (2553) ได้กล่าวไว้ว่า “ ในทางทฤษฎีแล้ว การคุกคามทางเพศ
                       (sexual harassment) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การคุกคามทางเพศที่มีเงื่อนไขเป็นข้อแลกเปลี่ยน

                       กับผลประโยชน์ในหน้าที่หรือยื่นหมูยื่นแมว (Quid Pro Quo) เช่น การได้เลื่อนต าแหน่ง การได้รับค่าจ้าง
                       ได้ปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้หญิงจะต้องเลือกระหว่างการยินยอมในเรื่องเพศกับการสูญเสียโอกาส
                       จากการท างานหรือผลประโยชน์ต่าง ๆ และการคุกคามทางเพศโดยการสร้างสภาพแวดล้อม
                       ที่ไม่พึงปรารถนาในสถานที่ท างาน (Hostile Work Environment) ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลายรูปแบบ
                       ทั้งที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น การแตะเนื้อต้องตัว การวิจารณ์เรือนร่างผู้หญิง หรือการกระท าโดยทางอ้อม

                       เช่น การแสดงเจตนาลามก การติดภาพโป๊ในสถานที่ท างาน เป็นต้น การคุกคามทางเพศเป็นปัญหา
                       ที่ส าคัญและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งบางครั้ง กฎหมายที่มีอยู่อาจจะมีข้อจ ากัดท าให้ไม่สามารถป้องกัน
                       แก้ปัญหาได้ ดังนั้น ในบางประเทศจึงได้มีกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศโดยตรงหรือ

                       อาจบัญญัติรวมกับกฎหมายการส่งเสริมการจ้างที่เท่าเทียมกันระหว่างชายหรือหญิง ซึ่งการมีกฎหมาย
                       บัญญัติไว้โดยตรงจะท าให้กฎหมายมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้เพราะกฎหมายจะมีทั้งมาตรการป้องกัน
                       การแก้ปัญหาและบทลงโทษมาตรการเยียวยาผู้เสียหายเอาไว้ชัดเจน ขณะที่บางประเทศน ามาบัญญัติ
                       ไว้ในกฎหมายคุ้มครอง แรงงานหรือกฎหมายแรงงาน เช่น กรณีของประเทศไทย

                                     พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 16 บัญญัติห้ามผู้ใหญ่คุกคาม
                       ทางเพศผู้น้อย ถ้าผู้ใหญ่คุกคามผู้ใหญ่ ผู้น้อยคุกคามผู้น้อย หรือผู้น้อยคุกคามผู้ใหญ่จะไม่เข้าข่าย
                       กระท าความผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าว โดยผู้ใหญ่หมายถึงผู้ที่มีต าแหน่งสูงกว่า เช่น นายจ้าง หัวหน้างาน
                       ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน ส่วนผู้น้อยคือผู้ที่มีต าแหน่งต่ ากว่าและต้องเป็นลูกจ้างหญิงหรือ

                       เด็กเท่านั้น ไม่จ าเป็นต้องเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง แต่ดูที่ต าแหน่งและไม่ดูอายุว่าแก่กว่าหรือไม่
                       ผู้บังคับบัญชาที่หนุ่มไปล่วงเกินหรือคุกคามทางเพศลูกจ้างสาวแก่หรือแม่ม่าย ก็ผิดต่อบทบัญญัติ
                       ดังกล่าวทั้งสิ้น นอกจากนั้น การล่วงเกินทางเพศไม่จ าเป็นว่าจะต้องท าในสถานที่ท างานในวันเวลา
                       ท างานเท่านั้น อาจเกิดขึ้นนอกเวลางานหรือเกิดขึ้นในสถานที่อื่นก็ได้ ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษ

                       ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 147 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
                       นอกจากนั้น ผู้กระท าอาจมีความผิดอาญาฐานข่มขืน อนาจาร หมิ่นประมาทแล้วแต่กรณี
                       ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17