Page 14 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ทดลองในฤดูปลูกที่ 2 พบว่า มีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน โดยปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้นทุก
ตำรับการทดลองและอยู่ในระดับต่ำถึงสูง โดยตำรับการทดลองที่มีการใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ มี
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงที่สุดเท่ากับ 16.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาได้แก่ การใช้ถ่านชีวภาพ
อัตรา 1,000 และ 500 กิโลกรัมต่อไร่ และการใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น
ประโยชน์ในดินเท่ากับ 13.4 8.7 และ 8.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ อาจเนื่องมาจากคุณสมบัติของถ่านชีวา
ภาพซึ่งมีความพรุนรวมสูง จึงช่วยดูดซับธาตุอาหารได้ดีและช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน ทำให้
ดินมีธาตุอาหารที่อุดมสมบูรณ์ (Peterson, 2009 และ Masto et al., 2013) และสอดคล้องกับการศึกษาทดลอง
ของ Zhang et al. (2014) ศึกษาบทบาทของถ่านชีวภาพที่มีผลต่อความเป็นประโยชน์และการดูดซับธาตุฟอสฟอรัส
ในดิน พบว่า ถ่านชีวภาพช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสในดิน แต่ปริมาณการดูดซับนั้นขึ้นอยู่กับ
วัสดุที่นำมาทำถ่านชีวภาพ และสอดคล้องกับการศึกษาของ กฤษณาและกฤษฎา (2558) พบว่า การใส่ถ่านชีวภาพใน
ปริมาณที่แตกต่างกันทำให้ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินปลูกมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
โดยมีค่าสูงขึ้นเมื่ออัตราการใส่ถ่านชีวภาพเพิ่มขึ้น
ตารางที่ 6 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ในฤดูปลูกที่ 1 และ 2
ตำรับการทดลอง ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
ก่อนการทดลอง 4.0
หลังการทดลอง ฤดูปลูกที่ 1 ฤดูปลูกที่ 2
1. แปลงควบคุม 6.3 bc 6.5 d
2. ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ 7.0 ab 8.7 c
3. ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ 7.6 ab 13.4 b
4. ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ 8.2 a 16.7 a
5. ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ 5.4 c 6.1 d
6. ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ 7.1 ab 8.1 cd
ค่าเฉลี่ย 6.9 9.9
p<0.05 * *
CV (%) 12.02 11.38
หมายเหตุ: * หมายถึงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี LSD
3.2.4 ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดิน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ในฤดูปลูกที่ 1 และ 2
ก่อนดำเนินการทดลองปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดิน มีเพียง 59.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งอยู่ในระดับ
ต่ำ หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูปลูกที่ 1 พบว่า ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินมีการ
เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลองและอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง (ตารางที่ 7) โดยตำรับการทดลองที่มีการใช้
ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินสูงที่สุดเท่ากับ 133.5 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม ไม่แตกต่างทางสถิติกับการใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ใน
ดินเท่ากับ 126.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ถัดมาส่วนการใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้ถ่านชีวภาพ
อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ และการใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินเท่ากับ
111.9 107.7 และ 96.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนแปลงควบคุม มีปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินต่ำ
ที่สุดเท่ากับ 71 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังสิ้นสุดการทดลองในฤดูปลูกที่ 2 พบว่า ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดิน
มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลองและอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก โดยตำรับการทดลองที่มีการใช้ถ่าน
ชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินสูงที่สุดเท่ากับ 154.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม