Page 18 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 18
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ตารางที่ 10 ความสูงต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (เซนติเมตร) ในฤดูปลูกที่ 1 และ 2
ความสูง (เซนติเมตร)
ตำรับการทดลอง
ฤดูปลูกที่ 1 ฤดูปลูกที่ 2
1. แปลงควบคุม 196.7 202.7
2. ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ 203.3 222.7
3. ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ 206.0 225.0
4. ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ 207.0 226.0
5. ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ 198.7 219.3
6. ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ 210.3 229.7
ค่าเฉลี่ย 203.7 220.9
p<0.05 ns ns
CV (%) 3.71 6.25
หมายเหตุ: ns หมายถึง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
4.2 ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูปลูกที่ 1 พบว่า ทุกตำรับการทดลองไม่มีผลทำให้ผลผลิตของ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความแตกต่างทางสถิติ (ตารางที่ 11) โดยตำรับการทดลองที่ใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัม
ต่อไร่ ข้าวโพดให้ผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 1,005.26 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000
กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 500 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิต
ใกล้เคียงกัน เท่ากับ 1,000.07 986.48 972.17 และ 855.17 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และหลังจากเก็บเกี่ยว
ผลผลิตในฤดูปลูกที่ 2 พบว่า ทุกตำรับการทดลองไม่มีผลทำให้ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความแตกต่างทางสถิติ
โดยตำรับการทดลองที่ใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวโพดให้ผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 1,120.33
กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาได้แก่ การใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 500 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 และ
500 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน เท่ากับ 1,091.12 1,066.90 1,051.59 และ 894.02 กิโลกรัมต่อไร่
ตามลำดับ การใช้ถ่านชีวภาพทำให้ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น เนื่องจากถ่านชีวภาพมีความคงตัว มี
พื้นที่ผิวภายในและรูพรุนสูงและช่วยเพิ่มปริมาณความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนในดิน ซึ่งคุณสมบัติ
เหล่านี้เอื้อต่อการใช้ประโยชน์ในการปรับสภาพดิน เพื่อการเพาะปลูกทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้ผลผลิต
พืชเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นแล้วจากการวิเคราะห์ถ่านชีวภาพ พบว่า มีซิลิคอนอยู่ในองค์ประกอบ ซึ่งมีส่วนช่วยเสริม
ความแข็งแรงในเซลล์พืชด้วย (Raven, 1983) สอดคล้องกับการศึกษาผลของการใส่ถ่านชีวภาพต่อความอุดมสมบูรณ์
ของดิน การเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวโพดพันธุ์ดอกคูณ 49 พบว่า น้ำหนักผลผลิตฝักสดข้าวโพดเมื่อถึงอายุ
การเก็บเกี่ยวมีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 99 เปอร์เซ็นต์ โดยตำรับการทดลองที่ใช้ถ่านชีวภาพ
อัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักดินแห้ง ให้ผลผลิตข้าวโพดสูงสุดเท่ากับ 383 กรัมต่อต้น (เสาวคนธ์และศศิธร, 2554)
จากการศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวเหนียวดำภายใต้การจัดการปุ๋ยคอก ปุ๋ยอนินทรีย์ และการใช้ถ่าน
ชีวภาพที่แตกต่างกันในพื้นที่ดินเค็ม พบว่า การใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยคอก อัตรา
1.6 ตันต่อไร่ ทำให้องค์ประกอบของผลผลิตและผลผลิตของข้าวสูงที่สุด (ปรเมศ, 2558) นอกจากนั้นแล้วยัง
สอดคล้องการประเมินคุณภาพดินและการใช้ถ่านชีวภาพ (ไบโอชาร์) เพื่อเพิ่มคาร์บอนในดินและเพิ่มผลผลิตพืชผัก
อินทรีย์ในพื้นที่ดินกรด พบว่า การใช้ถ่านชีวภาพในอัตราที่แตกต่างกัน ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยของข้าวโพดฝักอ่อนมี
แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (บรรเจิดลักษณ์ และ รติกร, 2560)