Page 11 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 11
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ตารางที่ 2 แสดงปริมาณธาตุอาหารของปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมัก ค่าที่วัด
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) 8.79
ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) (%) 5.44
ปริมาณฟอสฟอรัส (Total P 2O 5) (%) 0.72
ปริมาณโพแทสเซียม (Total K 2O) (%) 3.10
ปริมาณแคลเซียม (Total CaO) (%) 15.19
ปริมาณแมกนีเซียม (Total MgO) (%) 1.14
3. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน
3.1 สมบัติทางเคมีของดินก่อนการทดลอง
ดำเนินการเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองแบบ composite sample ที่ระดับความลึก 0-15 เซนติเมตร
ผลการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน (ตารางที่ 3) พบว่า มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) เท่ากับ 5.0 ซึ่งแสดงให้
เห็นว่า สภาพดินอยู่ที่ระดับเป็นกรดจัด ปริมาณอินทรียวัตถุในดินปานกลาง เท่ากับ 2.30 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปริมาณ
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน และปริมาณแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้
อยู่ในระดับต่ำ เท่ากับ 4.0, 59.2 และ 107 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และปริมาณแคลเซียมอยู่ในระดับต่ำมาก
เท่ากับ 213 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ตารางที่ 3 สมบัติทางเคมีของดินก่อนทดลอง ที่ระดับความลึก 0-15 เซนติเมตร
พารามิเตอร์ ค่าที่วัดได้
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) 5.0
ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) (%) 2.30
ปริมาณฟอสฟอรัส (Avail. P 2O 5) (mg/kg) 4.0
ปริมาณโพแทสเซียม (Avail. K 2O) (mg/kg) 59.2
ปริมาณแคลเซียม (Avail. Ca) (mg/kg) 213
ปริมาณแมกนีเซียม (Avail. Mg) (mg/kg) 107
3.2 สมบัติทางเคมีของดินในฤดูปลูกที่ 1 และหลังสิ้นสุดการทดลองในฤดูปลูกที่ 2 ที่ระดับความลึก
0-15 เซนติเมตร
3.2.1 ปฏิกิริยาความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ในฤดูปลูกที่ 1 และ 2
หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูปลูกที่ 1 พบว่า ทุกตำรับการทดลองที่มีการใช้ถ่านชีวภาพ
และปุ๋ยหมัก ไม่มีผลทำให้ค่าปฏิกิริยาความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีความแตกต่างกันทางสถิติกับแปลงควบคุม มี
การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนดำเนินการทดลองและมีค่าใกล้เคียงกันทุกตำรับการทดลอง โดยมี
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 5.1-5.4 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงลดลง หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูปลูกที่ 2 พบว่า
ทุกตำรับการทดลองปฏิกิริยาความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยมีค่าเฉลี่ย
ระหว่าง 5.2-5.4 ทั้งนี้อาจเป็นผลเนื่องมาจากถ่านชีวภาพ และปุ๋ยหมัก ซึ่งมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 7.31 และ
8.79 ตามลำดับ ช่วยปรับสภาพ pH ของดินมีผลทำให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเพิ่มขึ้น มีผลทำให้ปฏิกิริยา
ความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 4) ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดลองของ พชรพล
และ สุขุมาภรณ์ (2561) ซึ่งศึกษาผลของการประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพของการ
สังเคราะห์ด้วยแสงของพริกขี้หนูซูเปอร์ฮอทภายใต้สภาวะดินเปรี้ยว พบว่า เมื่อใส่ถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพดใน
อัตราส่วนที่แตกต่างกันในดินเปรี้ยว ทำให้ค่า pH ของดินเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น ศิริลักษณ์
และอรสา (2556) ได้ศึกษาการใช้อัตราส่วนผสมระหว่างปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพในการปลูกผักคะน้า พบว่า ถ่าน
ชีวภาพช่วยทำให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเพิ่มขึ้น และจากการศึกษาของ บรรเจิดลักษณ์ และรติกร (2560)