Page 9 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2. วิธีการดำเนินการวิจัย
2.1 แผนการทดลอง
การศึกษานี้เป็นการศึกษาผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่
ลาดเท ในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)
จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 ตำรับการทดลอง ดังนี้
ตำรับการทดลองที่ 1 แปลงควบคุม
ตำรับการทดลองที่ 2 ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่
ตำรับการทดลองที่ 3 ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่
ตำรับการทดลองที่ 4 ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่
ตำรับการทดลองที่ 5 ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่
ตำรับการทดลองที่ 6 ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่
2.2 วิธีการดำเนินการ
1. ผลิตถ่านชีวภาพด้วยไม้ลำไย โดยใช้เตาเผาถ่านแบบชาวบ้าน
2. ดำเนินการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความลาดชัน
3. เก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลอง หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูปลูกที่ 1 และที่ 2 ที่ระดับ
ความลึก 0-15 เซนติเมตร โดยเก็บ 3 ตัวอย่างต่อแปลง ได้แก่ 1) บริเวณด้านบนของแปลง 2) บริเวณตรงกลางของ
แปลง และ3) บริเวณด้านล่างของแปลง เพื่อวิเคราะห์หาสมบัติทางเคมี ได้แก่ pH, %OM, Avail P, Extr. K, Extr.
Ca และ Extr. Mg
4. เตรียมพื้นที่ทำแปลง ขนาด 5x20 เมตร ยาวตามความลาดชัน จำนวน 18 แปลงย่อย ระยะห่างระหว่าง
แปลง 1 เมตร ฝั่งแผ่นสังกะสี สูง 20 เซนติเมตร รอบแปลง สำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในทุกตำรับการทดลอง
ได้แก่ ใส่ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ถ่านชีวภาพ อัตรา
2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และกำจัด
วัชพืชโดยการใช้ยาฆ่าหญ้า ก่อนปลูกข้าวโพด 21 วันในทุกตำรับการทดลอง
5. ปลูกข้าวโพด ระยะปลูก 25x75 เซนติเมตร ตามแนวขึ้นลงของพื้นที่ โดยการกระทุ้งหยอดหลุม หลุมละ
2 เม็ด เมื่อเมล็ดงอกให้ถอนออกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม ใส่ถ่านชีวภาพ และปุ๋ยหมัก ตามอัตราของแต่ละวิธีการ ทำ
กับดักแมลง ได้แก่ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด วางให้ทั่วแปลง
6. การเก็บเกี่ยวผลผลิต เริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อายุ 180 วัน
7. การเก็บบันทึกข้อมูล
- ข้อมูลดิน วิเคราะห์สมบัติทางเคมี
- เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
8. วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยวิธี F-test และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยวิธี Least Significant
Difference (LSD)
9. ดำเนินการทดลองเช่นเดียวกันทั้งฤดูปลูกที่ 1 และ 2
10. วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติทั้ง 2 ฤดูปลูก และเขียนสรุปรายงานผลการวิจัย
2.3 วิธีวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
ตัวอย่างดิน
1. ปฏิกิริยาดิน (Soil reaction) โดยใช้เครื่องมือวัดค่าปฏิกิริยาของดิน (pH meter) อัตราส่วนดินต่อน้ำ
เท่ากับ 1:1 (Peech,1965)
2. อินทรียวัตถุในดิน (Organic matter) โดยวิธี Walkey-Black modified (Walkley and Black, 1934)
3. ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โดยวิธี Bray II (Bray and Kurtz, 1945)