Page 15 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 15
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และการใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และ
การใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ และการใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณโพแทสเซียมที่
สกัดได้ในดินเท่ากับ 141.0 132.3 124.0 114.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนแปลงควบคุม มีปริมาณ
โพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินต่ำที่สุดเท่ากับ 111.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งพบว่าทั้ง 2 ฤดูปลูก มีแนวโน้มไปในทิศทาง
เดียวกัน กล่าวคือ การใส่ถ่านชีวภาพช่วยเพิ่มปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินสูงขึ้น สอคคล้องกับการทดลอง
ประเมินคุณภาพดินและการใช้ถ่านชีวภาพ (ไบโอชาร์) เพื่อเพิ่มคาร์บอนในดินและเพิ่มผลผลิตพืชผักอินทรีย์ในพื้น
ที่ดินกรด พบว่า การใช้ถ่านชีวภาพทำให้ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดินเพิ่มขึ้น (บรรเจิดลักษณ์ และรติกร,
2560) เนื่องจาก คุณสมบัติของถ่านชีวภาพซึ่งมีความพรุนรวมและมีค่าความจุในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนสูง จึง
ช่วยดูดซับธาตุอาหารได้ดี (Peterson, 2009) และ สอดคล้องกับการศึกษาทดลองของพุทธิภณและคณะ, 2557
พบว่า ดินที่มีการใส่ถ่านชีวภาพทำให้โพแทสเซียมที่มีอยู่ในดินไม่ถูกชะล้างให้สูญหายไปในดินได้โดยง่าย เนื่องจาก
ถ่านชีวภาพมีค่าความจุในการแลกเปลี่ยนแคนไอออนสูง จึงมีผลทำให้หลังสิ้นสุดการทดลองดินมีปริมาณโพแทสเซียม
ที่สกัดได้ในดินสูง
ตารางที่ 7 ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดิน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ในฤดูปลูกที่ 1 และ 2
ตำรับการทดลอง ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ในดิน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
ก่อนการทดลอง 59.2
หลังการทดลอง ฤดูปลูกที่ 1 ฤดูปลูกที่ 2
1. แปลงควบคุม 71.0 b 111.7
2. ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ 107.7 ab 124.0
3. ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ 126.7 a 132.3
4. ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ 133.5 a 154.1
5. ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ 96.9 ab 114.2
6. ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ 111.9 ab 141.0
ค่าเฉลี่ย 108.0 129.6
p<0.05 * ns
CV (%) 19.53 17.20
หมายเหตุ: * หมายถึงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี LSD
ns หมายถึง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
3.2.5 ปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ในฤดูปลูกที่ 1 และ 2
ก่อนดำเนินการทดลองปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน มีเพียง 213 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งอยู่ใน
ระดับต่ำมาก หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูปลูกที่ 1 พบว่า ปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ใน
ดินมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลองและอยู่ในระดับต่ำมากถึงต่ำ (ตารางที่ 8) โดยตำรับการทดลองที่มี
การใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินสูงที่สุดเท่ากับ 434.7
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ไม่แตกต่างทางสถิติกับการใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้ปุ๋ยหมักออัตรา
1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินเท่ากับ 395.3 และ 426.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ตามลำดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณ
แคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินเท่ากับ 341.7 และ 330 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนแปลงควบคุม มีปริมาณ
แคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินต่ำที่สุดเท่ากับ 243.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังสิ้นสุดการทดลองในฤดูปลูกที่ 2
พบว่า ปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลองและอยู่ในระดับต่ำมาก