Page 13 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   กิโลกรัมต่อไร่ การใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 และ 500 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีปริมาณอินทรียวัตถุในดิน เท่ากับ 2.92 2.81
                   2.80 และ 2.68 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนแปลงควบคุมมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำสุดที่สุดเท่ากับ 2.51

                   เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 5) จะเห็นได้ว่า การใส่ถ่านชีวภาพ และปุ๋ยหมักในอัตราที่เพิ่มขึ้น ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
                   เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากถ่านชีวภาพ และปุ๋ยหมัก มีปริมาณเปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุสูงและจากวิเคราะห์ถ่านชีวภาพ
                   และปุ๋ยหมัก พบว่า ถ่านชีวภาพ และปุ๋ยหมัก มีปริมาณอินทรียวัตถุสูงเท่ากับ 23.02 และ 5.44 เปอร์เซ็นต์
                   ตามลำดับ ซึ่งมีส่วนทำให้เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินและช่วยเพิ่มปริมาณชีวมวลในดินจากปริมาณเศษซากพืช
                   นั้น ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินคุณภาพดินและการใช้ถ่านชีวภาพ (ไบโอชาร์) เพื่อเพิ่มคาร์บอนในดินและเพิ่ม
                   ผลผลิตพืชผักอินทรีย์ในพื้นที่ดินกรด พบว่า การใช้ถ่านชีวภาพในอัตราที่แตกต่างกันทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
                   เพิ่มสูงขึ้น (บรรเจิดลักษณ์ และรติกร, 2560) และจากการศึกษาผลของถ่านชีวภาพร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อผลผลิต
                   และความเข้มข้นธาตุอาหารในถั่วฝักยาวไร้ค้าง พบว่า การใช้ถ่านชีวภาพมีผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุสูงกว่าตำรับที่ไม่
                   ใช้ถ่านชีวภาพ (สายชล และ สิริวรรณ ,2563) นอกจากนั้นการใส่ถ่านชีวภาพร่วมกับการให้ปุ๋ยเคมีในการปลูกข้าวไร่

                   พบว่า มีผลทำให้ดินที่ระดับความลึก 0-15 เซนติเมตร ที่ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต มีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มสูงขึ้น
                   มากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (จิตนิภา, 2558)

                   ตารางที่ 5 ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (เปอร์เซ็นต์) ในฤดูปลูกที่ 1 และ 2

                               ตำรับการทดลอง                            อินทรียวัตถุในดิน (เปอร์เซ็นต์)

                                ก่อนการทดลอง                                       2.31
                                หลังการทดลอง                       ฤดูปลูกที่ 1               ฤดูปลูกที่ 2

                    1. แปลงควบคุม                                   2.41 c                         2.51 c

                    2. ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่           2.71 ab                   2.81 ab
                    3. ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่        2.81 a                     2.92 ab

                    4. ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่        2.81 a                         2.99 a
                    5. ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่            2.55 bc                    2.68 bc

                    6. ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่          2.69 ab                    2.80 ab

                                   ค่าเฉลี่ย                         2.66                        2.79
                                   p<0.05                              *                          *

                                   CV (%)                            3.14                        4.68
                   หมายเหตุ: * หมายถึงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี LSD

                          3.2.3 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ในฤดูปลูกที่ 1 และ 2
                          ก่อนดำเนินการทดลองปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน มีเพียง 4.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ใน

                   ระดับต่ำ หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูปลูกที่ 1 พบว่า ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน
                   เพิ่มขึ้นในทุกตำรับการทดลอง (ตารางที่ 6) แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยตำรับการทดลองที่มีการใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา
                   2,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงที่สุดเท่ากับ 8.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และแตกต่าง
                   ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับทุกตำรับการทดลอง รองลงมาได้แก่ การใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 และ 500 กิโลกรัม
                   ต่อไร่ มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงที่สุดเท่ากับ 7.6 และ 7.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ส่วน
                   การใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงที่สุดเท่ากับ 7.1 มิลลิกรัมต่อ
                   กิโลกรัม และไม่แตกต่างทางสถิติกับการใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 และ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ การใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา
                   500 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินต่ำที่สุดเท่ากับ 5.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งไม่แตกต่าง
                   ทางสถิติกับแปลงควบคุมที่มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเท่ากับ 6.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังสิ้นสุดการ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18