Page 17 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ประโยชน์ในดินต่ำที่สุดเท่ากับ 120.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังสิ้นสุดการทดลองในฤดูปลูกที่ 2 พบว่า ปริมาณ
แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลองและอยู่ในระดับต่ำ โดยตำรับการ
ทดลองที่มีการใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินสูงที่สุดเท่ากับ
183.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ไม่แตกต่างทางสถิติกับการใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีปริมาณ
แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินเท่ากับ 179.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนการใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัม
ต่อไร่ และใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณแมกนีเซียมที่
เป็นประโยชน์ในดินเท่ากับ 147.5 145.6 และ 136.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ทาสถิติกับแปลงควบคุมซึ่งมีปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินต่ำที่สุดเท่ากับ 104.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่ง
พบว่าทั้ง 2 ฤดูปลูก มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ การใส่ถ่านชีวภาพทุกอัตราช่วยเพิ่มปริมาณแมกนีเซียม
ที่เป็นประโยชน์ในดิน เนื่องจากถ่านชีวภาพมีองค์ประกอบของแมกนีเซียมที่สูง (Masto et al., 2013) นอกจากนั้น
แล้วการใส่ถ่านชีวภาพจะช่วยเพิ่มปริมาณความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกในดินสูง (Brady and Weil,
2008; Liang et al., 2006) อีกทั้งคุณสมบัติของถ่านชีวภาพซึ่งมีความพรุนรวมสูง จึงช่วยดูดซับธาตุอาหารได้ดี
ตารางที่ 9 ปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ในฤดูปลูกที่ 1 และ 2
ตำรับการทดลอง ปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
ก่อนการทดลอง 107
หลังการทดลอง ฤดูปลูกที่ 1 ฤดูปลูกที่ 2
1. แปลงควบคุม 120.7 c 104.9 c
2. ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ 146.1 bc 136.4 b
3. ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ 161.1 ab 147.5 b
4. ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ 178.7 a 179.1 a
5. ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ 143.5 bc 145.6 b
6. ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ 181.7 a 183.6 a
ค่าเฉลี่ย 155.3 149.5
p<0.05 * *
CV (%) 10.91 8.79
หมายเหตุ: * หมายถึงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี LSD
4. การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
4.1 ความสูงต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูปลูกที่ 1 พบว่า ทุกตำรับการทดลองไม่มีผลทำให้ความสูงของ
ต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความแตกต่างทางสถิติ (ตารางที่ 10) โดยตำรับการทดลองที่ใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัม
ต่อไร่ ต้นข้าวโพดมีความสูงมากที่สุด คือ 210.3 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ การใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 1,000
500 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีความสูงใกล้เคียงกันเท่ากับ 207 206 203.3 และ
198.7 เซนติเมตร ตามลำดับ และหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดูปลูกที่ 2 พบว่า ทุกตำรับการทดลองไม่มีผลทำให้
ความสูงของต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความแตกต่างทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่ใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัม
ต่อไร่ ต้นข้าวโพดมีความสูงมากที่สุด คือ 229.7 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ การใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 1,000
500 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีความสูงใกล้เคียงกันเท่ากับ 226 225 222.7 และ
219.3 เซนติเมตร ตามลำดับ