Page 19 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ตารางที่ 11 ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (กิโลกรัมต่อไร่) ที่ความชื้น 14.5 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูปลูกที่ 1 และ 2
ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (กิโลกรัมต่อไร่)
ตำรับการทดลอง ค่าเฉลี่ย
ฤดูปลูกที่ 1 ฤดูปลูกที่ 2
1. แปลงควบคุม 763.60 1,028.36
2. ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ 972.17 1,066.90
3. ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ 986.48 1,091.12
4. ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ 1,005.26 1,120.33
5. ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ 855.17 894.02
6. ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ 1,000.07 1,051.59
ค่าเฉลี่ย 930.46 1,042.05
p<0.05 ns ns
CV (%) 10.91 12.59
หมายเหตุ: ns หมายถึง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
สรุปผล
1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินเมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า การใช้ถ่านชีวภาพ และปุ๋ยหมักใน
การปรับปรุงดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น โดยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ปริมาณ
อินทรียวัตถุในดินเพิ่มมากขึ้น สำหรับปริมาณฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมในดินเพิ่มสูงขึ้น
อย่างชัดเจนในทุกตำรับการทดลอง
2. การใช้ถ่านชีวภาพ และปุ๋ยหมักในอัตราต่าง ๆ ปรับปรุงดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ บนพื้นที่ลาด
ชัน มีแนวโน้มทำให้ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น โดยในฤดูปลูกที่ 2 การใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัม
ต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 1,120.33 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการใช้ถ่านชีวภาพ
อัตรา 1,000 และ 500 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิต 1,091.12 และ 1,066.90 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และไม่แตกต่าง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 และ 500 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิต 1,051.59 และ 894.02
กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ดังนั้นหากเกษตรกรจะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดชัน ชุดดินวังสะพุง แนะนำให้ใช้
ถ่านชีวภาพในอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ หรือใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่
ข้อเสนอแนะ
1. การใช้ถ่านชีวภาพต้องพิจารณาใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นที่ใช้ในการผลิตถ่านชีวภาพ เพื่อให้ได้ปริมาณที่
เพียงพอต่อความต้องการของพืช
2. ปัญหาด้านการขนส่งของถ่านชีวภาพและปุ๋ยหมัก คือ สภาพพื้นที่เป็นที่ลาดชันสูง เกษตรกรจึงไม่
สามารถนำปุ๋ยหมัก หรือถ่านชีวภาพไปใส่ในแปลงปริมาณมาก ๆ ได้ ควรให้เกษตรกรใช้ถ่านชีวภาพและปุ๋ยหมัก ใน
อัตราน้อย ๆ ต่อปี แต่ให้ใช้เป็นประจำต่อเนื่อง