Page 12 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   โดยประเมินคุณภาพดินและการใช้ถ่านชีวภาพ (ไบโอชาร์) เพื่อเพิ่มคาร์บอนในดินและเพิ่มผลผลิตพืชผักอินทรีย์ใน
                   พื้นที่ดินกรด พบว่า การใส่ถ่านชีวภาพในอัตราส่วนที่แตกต่างกันทำให้คุณสมบัติทางเคมีของดินมีค่าแตกต่างกันอย่าง

                   มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าความเป็นกรดเป็นด่าง มีค่าสูงขึ้นเมื่ออัตราส่วนการใส่ถ่านชีวภาพเพิ่มขึ้น
                   และสอดคล้องกับการศึกษาของ เกศศิรินทร์ และคณะ (2557) ซึ่งศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของถ่านชีวภาพต่อ
                   สมบัติทางเคมีของดินปลูก รวมถึงการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัดคอส พบว่า การใส่ถ่านชีวภาพในอัตราส่วน
                   ที่แตกต่างกันทำให้สมบัติทางเคมีของดินปลูกมีค่าแตกต่างกันอน่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าความ
                   เป็นกรดเป็นด่าง โดยมีค่าสูงขึ้นเมื่ออัตราการใส่ถ่านชีวภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งอธิบายได้ว่า เนื่องจากบริเวณพื้นผิวถ่าน
                                                                                                         +
                   ชีวภาพจะมีประจุลบของหมู่ฟีนอลิก หมู่ไฮดรอซิล และหมู่คาร์บอนิล ซึ่งจะทำหน้าที่จับไฮโดรเจนไอออน (H ) ที่
                   ละลายอยู่ในดิน นอกจากนี้ ซิลิเกตคาร์บอเนต และไบคาร์บอเนตที่ปรากฏอยู่ในถ่านชีวภาพยังช่วยในการจับ
                   ไฮโดรเจนไอออนอีกทางหนึ่ง ทำให้ไฮโดรเจนไอออนที่ละลายอยู่มในดินมีปริมาณลดลงส่งผลให้ดินมีความเป็นกรด
                   ลดลง (pH เพิ่มขึ้น) (Brewer and Brown, 2012) และ (Chintala et al., 2014)

                   ตารางที่ 4 ปฏิกิริยาความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ในฤดูปลูกที่ 1 และ 2

                               ตำรับการทดลอง                                    ค่า pH (1:1)

                                ก่อนการทดลอง                                        5.0

                                หลังการทดลอง                       ฤดูปลูกที่ 1               ฤดูปลูกที่ 2

                    1. แปลงควบคุม                                     5.1                           5.2 b
                    2. ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่            5.4                           5.4 a

                    3. ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่          5.2                       5.3 ab

                    4. ถ่านชีวภาพ อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่          5.3                       5.3 ab
                    5. ปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่              5.1                           5.2 b

                    6. ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่            5.4                           5.4 a
                                   ค่าเฉลี่ย                          5.2                        5.3

                                   p<0.05                             ns                          *

                                   CV (%)                            2.34                        1.98
                   หมายเหตุ: * หมายถึงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี LSD
                           ns หมายถึง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

                          3.2.2 ปริมาณอินทรียวัตถุ (เปอร์เซ็นต์) ในฤดูปลูกที่ 1 และ 2

                          ก่อนดำเนินการทดลองปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีเพียง 2.31 เปอร์เซ็นต์ และหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต
                   ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูปลูกที่ 1 พบว่า ทุกตำรับการทดลองปริมาณอินทรียวัตถุในดิน มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น
                   แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตำรับการทดลองที่มีการใส่ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 และ 2,000 กิโลกรัม
                   ต่อไร่ มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูงที่สุดเท่ากับ 2.81 เปอร์เซ็นต์และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และมากกว่าตำรับ
                   การทดลองอื่น ๆ และปริมาณอินทรียวัตถุจัดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง รองลงมา ได้แก่ การใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 500

                   กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000 และ 500 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินเท่ากับ 2.71 2.69
                   และ 2.55 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งจัดอยู่ในระดับค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน ส่วนแปลงควบคุมมีปริมาณอินทรียวัตถุใน
                   ดินต่ำสุดเท่ากับ 2.31 เปอร์เซ็นต์ หลังสิ้นสุดการทดลองในฤดูปลูกที่ 2 พบว่า ทุกตำรับการทดลองปริมาณ
                   อินทรียวัตถุในดินมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยตำรับการทดลองที่มีการใช้ถ่านชีวภาพ
                   อัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูงที่สุดและอยู่ในระดับค่อนข้างสูงเท่ากับ 2.99 เปอร์เซ็นต์
                   แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับตำรับการทดลองอื่น ๆ รองลงมาได้แก่ การใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 และ 500
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17