Page 10 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 10
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4. โพแทสเซียม แคลเซียมและแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ โดยการสกัดด้วย 1 N Ammonium acetate
pH 7.0 (Pratt, 1965; Chapman, 1965)
ตัวอย่างถ่านชีวภาพ
1. ความเป็นกรดเป็นด่าง (Acidic-alkaline compose) โดยใช้เครื่องมือวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH
meter) อัตราส่วน เท่ากับ 1:2 (Peech, 1953)
2. ปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic matter) โดยดัดแปลงมาจากวิธี Walkey-Black modified (Walkley
and Black, 1934)
3. ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด (Total P) โดยการย่อยสลายด้วยกรดไนตริกเข้มข้น (conc. HNO 3) และกรด
เปอร์คลอริกเข้มข้น (conc. HClO 4) ในอัตราส่วน 2:1 และวิเคราะห์โดยใช้วิธี Colorimetry (Barton, 1984)
4. ปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมด (Total K) โดยการย่อยสลายด้วยกรดไนตริกเข้มข้น (conc. HNO 3) และ
กรดเป อร์คลอริกเข้มข้น (conc. HClO 4) ในอัตราส่วน 2:1 และวิเคราะห์โดยใช้เครื่อง Flame
spectrophotometer (Jackson, 1958)
5. ปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมทั้งหมด (Total Ca, Total Mg) โดยการย่อยสลายด้วยกรดไนตริก
เข้มข้น (conc. HNO 3) และกรดเปอร์คลอริกเข้มข้น (conc. HClO 4) ในอัตราส่วน 2:1 และวิเคราะห์โดยใช้เครื่อง
Atomic Absorption Spectrometer (Isaac and Kerber, 1971)
ผลการวิจัยและวิจารณ์
1. สมบัติของถ่านชีวภาพที่ใช้ในการทดลอง
การศึกษานี้ได้ใช้ไม้ลำไยมาผลิตเป็นถ่านชีวภาพสำหรับการทดลองผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโต
และผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเท ในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน ผลการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของ
ถ่านชีวภาพจากไม้ลำไย พบว่า มีปฏิกิริยาของดิน (pH) 7.31 ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) 23.02 เปอร์เซ็นต์ มี
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Total P 2O 5) 0.35 เปอร์เซ็นต์ และมีโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Total K 2O)
0.57 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณแคลเซียม (Total CaO) 2.43 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณแมกนีเซียม (Total MgO) 0.14
เปอร์เซ็นต์ ค่าเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในของเหลว (EC) 0.19 ds/m ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน 13.35 เปอร์เซ็นต์
(ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 แสดงปริมาณธาตุอาหาร (%) ของถ่านชีวภาพ (Biochar)
ถ่านชีวภาพ ค่าที่วัด
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) 7.31
ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) (%) 23.02
ปริมาณฟอสฟอรัส (Total P 2O 5) (%) 0.35
ปริมาณโพแทสเซียม (Total K 2O) (%) 0.57
ปริมาณแคลเซียม (Total CaO) (%) 2.43
ปริมาณแมกนีเซียม (Total MgO) (%) 0.14
2. สมบัติทางเคมีของปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมักที่นำมาใส่ในแปลงทดลองเพื่อเพิ่มธาตุอาหารพืช มีปฏิกิริยาของดิน (pH) 8.79 ปริมาณอินทรียวัตถุ
(OM) 5.44 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Total P 2O 5) 0.72 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อ
พืช (Total K 2O) 3.10 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณแคลเซียม (Total CaO) 15.19 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณแมกนีเซียม (Total
MgO) 1.14 เปอร์เซ็นต์ ค่าเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในของเหลว (EC) 5.92 ds/m ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน 3.15
เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 2)