Page 8 - ผลของถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ลาดเทในกลุ่มชุดดินที่ 55 จังหวัดน่าน Effect of Biochar on the Growth and Yield of Maize on sloping Land in Soil Series Group No.55, Nan Province.
P. 8
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
โพแทสเซียมสะสมอยู่มาก (เถ้าลอยมีปริมาณฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เท่ากับ 760 และ 711 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม ตามลำดับ) ขณะเดียวกันโลหะหนักในดิน (สังกะสี นิเกิล โคบอลท์ ทองแดง แมงกานีส แคดเมียม และ
ตะกั่ว) มีปริมาณลดลงเพราะมีการดูดซับโลหะหนักที่พื้นผิวของถ่านชีวภาพและการตกตะกอนของโลหะหนักในดิน
จากสภาวะดินที่เป็นกรดลดลง
การปรับวงจรคาร์บอนทางทฤษฎีให้เข้าสู่สมดุลธรรมชาติ ทำโดยควบคุมการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลดการตัด
ไม้ทำลายป่าและการเผาสารอินทรีย์ เพื่อกักเก็บคาร์บอนให้อยู่ในรูปของแข็ง และเปลี่ยนเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ช้าลง จึงมีนักวิจัยนำเสนอความคิดว่า หลังจากพืชตาย หากนำเศษซากพืชที่มิได้ใช้ประโยชน์มาทำถ่านชีวภาพแล้วใส่
ในดิน ก็จะปรับดุลคาร์บอนไปสู่ทิศทางที่ถูกกักเก็บในดินนานขึ้น และหมุนเวียนเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่
บรรยากาศช้าลง หรือสร้างสภาวะคาร์บอนเป็นลบ (Carbon negative) ซึ่งเป็นทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อน
(Lehmann and Joseph, 2009) ประกอบกับการใส่ถ่านชีวภาพลงไปดิน มีผลด้านการบำรุงดิน จึงมีการศึกษาใน
เรื่องนี้ค่อนข้างมาก
การใช้ถ่านชีวภาพนั้นมีผลต่อสมบัติของดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งการศึกษาวิธีบำรุงดินด้วยถ่าน
ชีวภาพที่ผ่านมานั้นมิได้ดำเนินการในดินทั่วไป แต่งานวิจัยในดินเขตร้อนชื้นที่มีการชะละลายสูงและมีสภาพเสื่อม
โทรมดินเป็นกรด โพแทสเซียมต่ำและฮิวมัสต่ำมาก เนื่องจากอินทรียวัตถุสลายตัวรวดเร็ว การใส่ปุ๋ยเคมีในดิน
ประเภทนี้ แม้จะแก้ปัญหาได้บางส่วนแต่พบว่า ประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยเคมีค่อนข้างต่ำ ส่วนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แม้
จะช่วยปรับปรุงสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีของดินได้ดี แต่อินทรียวัตถุที่สลายตัวเร็ว ประโยชน์ที่ได้รับจึงอยู่ในช่วง 2-3
ฤดูกาลปลูกพืช เว้นแต่จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องเท่านั้น เมื่อมีการทดลองใช้ถ่านชีวภาพกับ
ดินประเภทต่าง ๆ ในเขตร้อนชื้น พบว่า คาร์บอนในสารปรับปรุงดินชนิดนี้เป็นรูปที่มีเสถียรภาพ แม้ว่าจะสลายตัว
เล็กน้อยในช่วงแรก แต่ส่วนที่เหลือจะทนทานอย่างยิ่ง (Major et al., 2010)
วิชุตา (2556) พบว่า การใส่ถ่านชีวภาพในดินเหนียวปนทราย อัตรา 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ในแปลงปลูกข้าว
พันธุ์เหลืองและพันธุ์นาสาร พบว่า ต้นข้าวที่ได้รับถ่านชีวภาพมีการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ความสูง น้ำหนัก ลำ
ต้น และราก การแตกกอ จำนวนเมล็ดต่อรวง น้ำหนัก 1,000 เมล็ดเพิ่มขึ้น และข้าวพันธุ์นาสารให้ผลผลิตสูงกว่าข้าว
พันธุ์เหลือง
ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินการ เริ่มต้น เดือนเมษายน 2562
สิ้นสุด เดือนธันวาคม 2563
สถานที่ดำเนินการ บ้านโป่งคำ หมู่ที่ 5 ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน
สภาพพื้นที่ (Site Characterzation)
ชุดดินวังสะพุง (Fine, mixed, active, isohyperthermic Typic Haplustalfs) กลุ่มชุดดินที่ 55 ลักษณะ
สมบัติของดิน เป็นดินลึกปานกลาง ดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ำตาล
เข้มถึงน้ำตาลปนเทาเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงปานกลาง (pH 6.0-7.0) ดินล่างตอนบนเป็นดินเหนียว สี
แดงปนเหลืองถึงแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0) ตอนล่างเป็นดินเหนียวมีเศษหิน
ปะปนหนาแน่น และส่วนใหญ่พบชั้นหินพื้นภายในความลึก 100 ซม. สีน้ำตาลปนแดงหรือน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยา
ดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0) ดินมีความสมบูรณ์ปานกลาง (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)
อุปกรณ์และวิธีการ
1. อุปกรณ์การทดลอง
- วัสดุการเกษตรที่เป็นปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ได้แก่ ถ่านชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมี
- เมล็ดพันธุ์พืช ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
- อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างดินและพืช และอื่น ๆ ตามที่จำเป็น