Page 14 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           7



                         ดินบนลึกประมาณ 20 เซนติเมตร มีเนื้อดินเป็นดินร่วน ปนดินเหนียว หรือดินเหนียว สีพื้นเป็นสีเข้มมากของ
                  สีน้ำตาลปนเทา ถึงสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาเป็นกรดจัดถึงกรดจัดมาก (pH 5.0-5.5) ส่วนดินล่าง มีเนื้อดินเป็นดิน
                  เหนียว หรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีพื้นเป็นสีน้ำตาลแก่ หรือสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดจัด
                  มาก (pH 5.0-5.5)
                  ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ดินและระดับความอุดมสมบูรณ์ของชุดดินลำภูรา

                   ระดับความ      ความจุแลก      ความอิ่มตัว   ปริมาณ      ฟอสฟอรัสที่   โพแทสเซียมที่  ระดับความ
                    เป็นกรด     เปลี่ยนแคตไอออน    ของเบส    อินทรียวัตถุ  เป็นประโยชน์   เป็นประโยชน์   อุดมสมบูรณ์

                    เป็นด่าง      (cmolc/kg)        (%)         (%)         (mg/kg)        (mg/kg)
                       -            16.26           8.60        2.18         2.18           17.40          ต่ำ
                  (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)
                         ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร
                         1. ขาดธาตุอาหารบางธาตุ และความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลางถึงต่ำ
                         2. สภาพพื้นที่ค่อนข้างลาดชัน และเนื้อดินเป็นดินทราย
                         3. ในพื้นที่ซึ่งมีความลาดชันสูง จะมีการสูญเสียหน้าดินโดยการกร่อน
                         4. ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินต่ำ พืชขาดแคลนน้ำในช่วงเพาะปลูก
                         การจัดการเพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืช

                         1. เลือกชนิดพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และชนิดของพืช เหมาะสมในการปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้นและ
                  พืชผักต่างๆหรือพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ แต่ไม่เหมาะสมในการทำนา เนื่องจากอยู่ที่ดอน สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น
                  ลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชัน ดินมีการระบายน้ำดี ระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึก
                         2.  การจัดการเพื่อการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน การทำให้ดินร่วนซุยเหมาะสมต่อการปลูกพืชไร่
                  และพืชผักมี 3วิธี 1) ใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก เป็นต้น ใช้อัตรา 1.5-2 ตันต่อไร่ โดยการหว่านแล้วพรวน
                  กลบ หรือ 2)  ปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ปอเทืองหรือโสนอัฟริกันแล้วไถกลบเมื่อออกดอกเป็นพืชปุ๋ยสดและ 3) ใส่วัสดุ
                  ปรับปรุงดินเช่น กากถั่วเหลือง ขี้เลื่อย แกลบ และเศษพืช เป็นต้น ไถกลบลงไปในดิน

                         3. การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                                3.1 การปลูกพืชหมุนเวียนที่มีพืชตระกูลถั่วสลับอยู่ในระบบการผลิตพืช เช่น ถั่วเหลือง-ข้าวโพด
                  หรือ พืชผัก-ถั่วต่างๆ
                                3.2 การปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบ
                                3.3 กรณีที่ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่ำกว่า 5.0 อาจจำเป็นต้องใส่ปูนเพื่อยกระดับพีเอช
                  ขึ้นมาใกล้เป็นกลาง อัตราที่ใช้ประมาณ 100-500 กิโลกรัมต่อไร่
                         4. การจัดการเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย เช่น 1) การไถพรวน หรือการปลูกพืชตามแนวระดับขวางความ
                  ลาดชันของพื้นที่ 2) ทำร่องระบายน้ำ ตลอดจนมีมาตรการชะลอความเร็วของการไหลบ่าบนผิวน้ำ และ 3) ในบริเวณที่
                  มีความลาดชันสูง ควรทำขั้นบันไดและปลูกพืชคลุมดิน (กรมพัฒนาที่ดิน,2548)

                         ข้าวโพดหวาน (Sweet corn) เป็นพืชผสมข้ามพันธุ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Zea mays Line.Var
                  Sacchorata. อยู่ในตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว เป็นพืชไร่ อายุสั้น ปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่
                  ควรปลูกช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - มกราคม หรือต้นฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม จะให้
                  ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ ระบบรากของข้าวโพดมีระบบรากฝอย ซึ่งเจริญมาจาก 2 ส่วนคือรากที่เจริญมาจากคัพภะ
                  เรียกว่า primary root เป็นรากที่มีการพัฒนามาจากแรดิเคิลและมีรากแขนงแตกออกมาเรียกว่าlateral root
                  นอกจากนี้ยังมีรากที่เกิดขึ้นที่ scutellar node เรียกว่า seminal root รากทั้งหมดนี้มีการเจริญเติบโตในระยะเวลา
                  อันสั้นๆ ขณะข้าวโพดเป็นต้นกล้าและจะตายไปเมื่อต้นข้าวโพดโตขึ้น รากส่วนที่สองคือรากที่เจริญจากลำต้นเรียกว่า
                  adventiticus root มีจุดกำเนิดรากที่ข้อส่วนล่างของลำต้น ข้อแรกที่เกิดรากชนิดนี้คือ coleoptilar node ราก

                  เหล่านี้จะเจริญอยู่ตลอดชีวิตของข้าวโพดซึ่งแผ่กระจายรอบลำต้นแต่ไม่มีรากแก้ว ลำต้นประกอบด้วยข้อและปล้อง
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19