Page 19 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          12



                  ปนทราย ดินเหนียวปนทราย  มีสีน้ำตาล  สีน้ำตาลปนเหลือง  สีน้ำตาลปนแดง  สีแดงปนเหลือง  สีแดง  สีแดงเข้ม
                  หรือสีน้ำตาลปนเทา และสีปนแดงคล้ายจุดประอยู่ทั่วไป อาจพบชั้นหินแกรนิตผุที่ความลึกระหว่าง 50-100  ซม.  มี
                  การระบายน้ำดี  การไหล่บ่าของน้ำบนผิวดินปานกลางถึงเร็ว  น้ำซึมผ่านได้ปานกลาง  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึง
                  กรดรุนแรงมาก (4.5-6.5) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ


                                                       อุปกรณ์และวิธีการ


                  1. อุปกรณ์
                         1. วัสดุที่ใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ได้แก่ กากถั่วเหลือง มูลวัว สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 และ สารเร่ง
                            ซุปเปอร์ พด. 2
                         2. วัสดุที่ใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ได้แก่  ปุ๋ยหมัก พด.1  รำละเอียด สารเร่งซุปเปอร์ พด. 12
                         3. วัสดุในการผลิตปุ๋ยหมัก พด.1 ได้แก่  กากปาล์มน้ำมัน  มูลไก่  และสารเร่งซุปเปอร์ พด. 1
                         4. วัสดุในการทำน้ำหมักชีวภาพ  พด.2 ได้แก่  ปลาเป็ด  สับปรด  กากน้ำตาล  และ สารเร่งซุปเปอร์ พด. 2
                         5. ตลับเมตร ไม้หลักสำหรับแบ่งแปลงย่อย และป้ายแปลง
                         6. อุปกรณ์เก็บตัวอย่างดิน
                         7. อุปกรณ์สำหรับเก็บผลผลิต เช่น ถุงใส่น้ำยาง ถุงตาข่ายใส่ตัวอย่างผลผลิต

                         8. เครื่องมือ อุปกรณ์ และสารเคมีในห้องปฏิบัติการ เช่น เครื่องชั่ง ตู้อบ ถ้วยอบตัวอย่าง กรดอะซิติค
                  2. วิธีการ
                         2.1 วางแผนการทดลองแบบ : วางแผนการทดลอง  RCBD (Randomized Complete Block Design)
                  โดยมี 9  ตำรับการทดลอง  3  ซ้ำ ดังนี้
                           ตำรับที่ 1 = ปุ๋ยหมัก พด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ + สับกลบตอซังข้าวโพดหวาน
                           ตำรับที่ 2 = ปุ๋ยหมัก พด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ + น้ำหมักชีวภาพ
                           ตำรับที่ 3 = ปุ๋ยหมัก พด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ + พืชปุ๋ยสด + น้ำหมักชีวภาพ

                           ตำรับที่ 4 = ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ + สับกลบตอซังข้าวโพดหวาน
                           ตำรับที่ 5 = ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ + น้ำหมักชีวภาพ
                           ตำรับที่ 6 = ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ + พืชปุ๋ยสด + น้ำหมักชีวภาพ
                           ตำรับที่ 7 = ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ + สับกลบตอซังข้าวโพดหวาน
                           ตำรับที่ 8 = ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ +น้ำหมักชีวภาพ
                           ตำรับที่ 9 = ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ +พืชปุ๋ยสด +น้ำหมักชีวภาพ
                  หมายเหตุ
                      1)  คำนวณโดยใช้ค่าปริมาณอินทรียวัตถุของชุดดินลำภูรา เท่ากับ 2.18 เปอร์เซ็นต์ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)
                      2)  เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุและเปอร์เซ็นต์ความชื้นของปุ๋ยหมัก พด.1 ปุ๋ยชีวภาพพด.12 และปุ๋ยอินทรีย์
                         คุณภาพสูง ที่ใช้ในการคำนวณได้จากการวิเคราะห์ของโรงปุ๋ยในพื้นที่ โดยปุ๋ยหมัก พด.1 มีค่า OM 21.92 %
                         ที่ความชื้น 25% ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 มีค่า OM 26.86% ที่ความชื้น 25% และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมีค่า OM

                         24.66% ที่ความชื้น25%
                      3)  ในความเป็นจริง ปริมาณปุ๋ยที่ใช้อาจปรับเปลี่ยนไปตามผลวิเคราะห์ดินปัจจุบันของพื้นที่ที่ทำการทดลองและ
                         ผลวิเคราะห์ปุ๋ยที่ใช้ในการทดลอง เพื่อให้การยกระดับอินทรียวัตถุเป็นไปตามที่กำหนด
                      4)  ใส่น้ำหมักชีวภาพ พด.2 ในตำรับการทดลองที่  2, 3, 5, 6, 8 และ 9
                      5)  มีการปลูกพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) และไถกลบเมื่อครบอายุ 55 – 60 วัน (ออกอก 50 เปอร์เซ็นต์) ในตำรับการ
                         ทดลอง ที่ 3, 6 และ 9
                      6)  หลังจากทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตทำการสับกลบตอซังข้าวโพดหวานในตำรับการทดลองที่ 1, 4 และ 7
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24