Page 11 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           4



                  applying high content compost at the rate of 100 kg/rai combined with LDD 2 bio-extract at the
                  rate of 1 litre/500 litres of water gave the highest economic return which the production value and
                  economic return of 17,671.80 and 13,871.80 baht/rai, respectively.


                                                       หลักการและเหตุผล

                         ปัจจุบันกระแสความนิยมของผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญกับอาหารสุขภาพมากขึ้นความปลอดภัยทางอาหาร

                  โดยไม่มีการปนเปื้อนหรือมีน้อยมากจากสารเคมี สารพิษที่ส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้การผลิตอาหารเพื่อสุขภาพออกสู่
                  ตลาดมากขึ้น เกษตรอินทรีย์เป็นระบบการเกษตรที่เน้นการเพาะปลูกพืชที่ใช้ปุ๋ยประเภทอินทรีย์เป็นหลัก เช่น ปุ๋ยคอก
                  ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์สามารถเพิ่มมูลค่าของ
                  ผลผลิตได้เป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบันกับพบว่าพื้นที่ที่เป็นการทำการเกษตรแบบอินทรีย์มีน้อยมากเนื่องจากปัจจัย
                  หลายๆอย่างเช่น รูปแบบการผลิต กระบวนการขั้นตอนต่างๆในการผลิตที่ค่อนข้างยุ่งยาก เห็นผลตอบแทนช้า เป็นต้น
                  ทำให้เกษตรกรหลายรายมองข้ามระบบเกษตรอินทรีย์ไปโดยยังเน้นการผลิตพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีเป็นหลักจนทำให้พื้นที่ที่ทำ
                  การเพาะปลูกเริ่มส่งผลต่อพืชที่ปลูกให้มีต้นที่ไม่สมบูรณ์ ผลผลิตน้อยหรือหากมีการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นระยะ
                  เวลานานจะทำให้พื้นที่ไม่สามารถปลูกพืชได้อีก พบว่า  การใส่ปุ๋ยเคมีอย่างต่อเนื่องทุกๆปี มีผลต่อระดับความเป็นกรด
                  ของดินจากการทดลอง Tattao (1987) ในดินดอน ซึ่งเป็นดินเหนียวสีแดง มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ

                  โพแทสเซียมอัตราต่างๆกันให้แก่ข้าวโพดที่ปลูกปีละครั้งติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับ
                  pH ยิ่งต่ำเมื่อใส่ปุ๋ยมากขึ้นหากดินมีปฏิกิริยาเป็นกรดอยู่แล้วการใส่ปุ๋ยทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น แม้จะใส่ทั้งปุ๋ย
                  ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม แต่ปุ๋ยที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เป็นกรดคือ ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ส่วนปุ๋ย
                  ดับเบิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟตและโพแทสเซียมคลอไรด์มีผลต่อความเป็นกรด-ด่างของดินน้อยมากเมื่อเทียบกับปุ๋ย
                  แอมโมเนียมซัลเฟต (อำนาจ,2551) การปลูกพืชไร่เศรษฐกิจเช่น ข้าวโพดหวาน ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เป็นต้น ก็เป็นอีก
                  ทางเลือกหนึ่งที่จะเป็นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ธาตุอาหาร ความชื้นที่ยังเหลืออยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะข้าวโพดหวาน
                  จัดเป็นพืชไร่เศรษฐกิจที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีและปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีการ

                  ส่งออกข้าวโพดหวานในรูปแบบต่างๆสูงเป็นอันดับที่ 1 หรือ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา พบว่าปริมาณการ
                  ส่งออกของปี 2550-2554 มีปริมาณการส่งออก 151,276 , 153,384 , 160,818 , 173,619 และ 184,178 ตัน
                  ตามลำดับ มีการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้อุตสาหกรรมข้าวโพดหวานยังคงมีแนวโน้มที่ขยายการเจริญเติบโตต่อไปใน
                  อนาคตเนื่องจาก ประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่อย่าง สหรัฐฯได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชพลังงานทดแทน
                  และประเทศสหภาพยุโรปมีแนวโน้มขายความต้องการเพิ่มขึ้น รวมถึงการที่สหภาพยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยมี
                  แนวโน้มปริมาณการส่งออกลดลง เนื่องจากข้อกำหนดของมาตรการ AD (Anti Dumping) และจุดแข็งของ
                  อุตสาหกรรมข้าวโพดหวานของไทยอีกอย่างคือการที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีและผลผลิตมีคุณภาพทำให้โรงงานผลิต
                  ได้ทั้งปี รวมถึงประเทศแถบเอเซีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ก็มีความต้องการนำเข้าข้าวโพดหวานเช่นกันปริมาณ
                  ผลผลิตข้าวโพดหวานของไทยร้อยละ 80-90 จะถูกส่งออกใน 2 ลักษณะ คือ ข้าวโพดหวานแช่เย็นแช่แข็ง และ
                  ข้าวโพดหวานปรุงแต่ง/แปรรูป โดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ อังกฤษ เยอรมัน รัสเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน

                  นอกจากข้าวโพดหวานจะเป็นพืชที่มีศักยภาพในด้านการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในระยะหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
                  การนำเศษเหลือใช้ เช่นต้นข้าวโพดหวานสามารถใช้ในการไถกลบลงดินเพื่อการปรับปรุงดิน หรือการนำไปเป็นอาหาร
                  หยาบทดแทนหญ้าสดสำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อ-โคนม การใช้ปุ๋ยชีวภาพจะช่วยส่งเสริมสมบัติทางกายภาพ ทำให้
                  ดินเหนียว มีความร่วนซุย ระบายน้ำ อากาศได้ดีขึ้น ปรับสภาพทางเคมีโดยลดความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ลดความ
                  เป็นพิษของโลหะหนัก ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารให้เป็นประโยชน์ต่อพืช ช่วยเก็บธาตุอาหารไว้ในดิน และดินที่มี
                  อินทรียวัตถุมากพอจะต้านทานการชะล้างพังทลายของดินได้ (กรมวิชาการเกษตร,2551)
                         เป้าหมายการจัดทำโครงการวิจัยศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตร

                  อินทรีย์ (ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี) ใน จ.สตูล มุ่งหวังให้เป็นพื้นที่ตัวอย่าง ด้านการสาธิต ทดสอบเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินที่
                  เหมาะสมสำหรับการศึกษาเรียนรู้ ส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวโพดหวานในพื้นที่ดังกล่าว เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16