Page 18 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          11



                          5. หมักกองปุ๋ยเป็นเวลา 10-15 วันหรือจนกระทั่งอุณหภูมิในกองปุ๋ยลดลงเท่ากับภายนอกกองปุ๋ยจึงนำไปใช้
                  ได้
                          วิธีการขยายเชื้อ พด.2
                          1. เจือจางกากน้ำตาลต่อน้ำอัตราส่วน กากน้ำตาล 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 50 ลิตร
                          2. ใส่สารซุปเปอร์พด.2 จำนวน 1 ซองคนให้เข้ากัน
                          3. ปิดฝาตั้งไว้ในร่มโดยขยายเชื้อเป็นเวลา 3 วัน
                         น้ำหมักชีวภาพ พด.2 หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของเหลวซึ่งได้จากการนำการวัสดุเหลือจากพืชหรือสัตว์ซึ่งมี

                  ลักษณะสดหรือมีความชื้นสูงในลักษณะเป็นของเหลวและอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์ทั้งในสภาพที่มีออกซิเจนและไม่มี
                  ออกซิเจน ทำให้ได้ฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น Auxin,Gibberellin Cytokinin รวมทั้งกรด
                  อินทรีย์เช่น กรดแลคติค,กรดอะซิติค,กรดอะมิโนและกรดฮิวมิก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่างเห็น
                  ผลและมีประสิทธิภาพทำให้เร่งการเจริญเติบโตของรากพืชเร่งการขยายตัวของใบและยืดตัวของลำต้น  ส่งเสริมการ
                  ออกดอกและติดผลดี  ต้านทานโรคและแมลง (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                         การผลิตน้ำหมักชีวภาพ พด. 2 โดยมีวัสดุที่ใช้ในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ คือ
                         น้ำหมักชีวภาพจากปลา จำนวน 50 ลิตร (ใช้เวลาในการหมัก 15-20 วัน)

                         1.ปลา                        30  กิโลกรัม
                         2.ผลไม้ (สับปะรด)            10  กิโลกรัม
                         3.กากน้ำตาล                  10  กิโลกรัม
                         4.น้ำ                        10  ลิตร (หรือให้ท่วมวัสดุหมัก)
                         5.สารเร่ง พด.2                   1  ซอง ( 25 กรัม)
                         จากการศึกษาพบว่า ปริมาณธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองในน้ำหมักชีวภาพจากปลามีปริมาณ
                  ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียมและกำมะถันโดยเฉลี่ย 0.98,1.12,1.03,1.66,0.24และ
                  0.20 ตามลำดับ ปริมาณธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองในน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่มีปริมาณไนโตรเจน
                  ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียมและกำมะถันโดยเฉลี่ย 0.73,0.24,0.89,2.90,0.32และ 0.22
                  ตามลำดับ ปริมาณธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองในน้ำหมักชีวภาพจากผักและผลไม้มีปริมาณไนโตรเจน

                  ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียมและกำมะถันโดยเฉลี่ย 0.14,0.04,0.53,0.08,0.06และ 0.11
                  ตามลำดับและปริมาณฮอร์โมนออกซิน จิบเบอเรลลิน ไซโตไคนินและกรดฮิวมิกในน้ำหมักชีวภาพจากปลาโดยเฉลี่ย
                  4.01,33.07,3.05 มก.ต่อลิตรและ 3.36% ตามลำดับ ปริมาณฮอร์โมนออกซิน จิบเบอเรลลิน ไซโตไคนินและกรดฮิว
                  มิกในน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่โดยเฉลี่ย 6.85,37.14,13.62 มก.ต่อลิตรและ 3.07% ตามลำดับ (กรมพัฒนาที่ดิน,
                  2551)
                                                     ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ

                  ระยะเวลาดำเนินการ     เริ่มต้น  เดือนตุลาคม   พ.ศ. 2561
                                        สิ้นสุด  เดือนกันยายน  พ.ศ. 2563
                  สถานที่ดำเนินการ

                         1. สถานที่ตั้ง

                         แปลงเกษตรกรพื้นที่หมู่ที่  6  บ้านน้ำหรา  ตำบลทุ่งนุ้ย   อำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล
                  พิกัด  619037 E   763595 N

                         2. สภาพพื้นที่
                         พื้นที่แปลงทดลองเป็นชุดดินลำภูรา  อยู่ในกลุ่มชุดดินที่  26  เป็นดินลึกถึงลึกมาก  เนื้อดินเป็นดินร่วน  ดิน

                  ร่วนปนดินเหนียว  ดินร่วนปนทราย  ดินร่วนเหนียวปนทราย   ดินทรายปนดินร่วน  หรือดินเหนียว  มีสีแดงหรือสีแดง
                  เข้ม  สีน้ำตาล  สีน้ำตาลปนเทา  สีน้ำตาลปนเหลือง  สีน้ำตาลปนแดง  ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว  ดินร่วนเหนียว
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23