Page 9 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           2



                  ทะเบียนวิจัยเลขที่    62 63 05 08 010014 024 107 14 11
                  ชื่อโครงการวิจัย      การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์
                                        จังหวัดสตูล
                                        Soil  Organic Matter Management For Sweet Corn Production in Organic

                                        Agriculture System in Sutun  Province.
                  กลุ่มชุดดินที่        26   ชุดดินลำภูรา  (Lamphu  La  series : Ll)
                  สถานที่ดำเนินงาน      บ้านน้ำหรา  หมู่ที่ 6  ตำบลทุ่งนุ้ย   อำเภอควนกาหลง   จังหวัดสตูล
                  หัวหน้าโครงการ        1. นางสาวรัตนาภรณ์   เพชรจำรัส Miss.Rattanaporn  Petchamrat

                  ผู้ร่วมดำเนินการ      1. นางพิมล  อ่อนแก้ว                Mrs.Pimol   onkaew
                                        2. นางสาวสุภาวดี  เรืองกูล          Miss.Supawadee  Ruaengkul

                                                           บทคัดย่อ

                            การศึกษาผลการจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์
                  จังหวัดสตูล  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์  ศึกษาการ
                  เปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังการทดลอง  และศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวโพดหวาน
                  ในตำรับทดลองต่าง ๆ ทำการทดลองในพื้นที่เกษตรกร  หมู่ที่ 6  บ้านน้ำหรา  ตำบลทุ่งนุ้ย  อำเภอควนกาหลง
                  จังหวัดสตูล ระหว่างเดือนตุลาคม  2561  ถึงเดือนกันยายน  2563 โดยวางแผนการทดลองแบบ  Randomized
                  Complete Block (RCBD) จำนวน 9 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ คือ ตำรับที่ 1 ใส่ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่
                  ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน ตำรับที่ 2 ใส่ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ ตำรับที่

                  3 ใส่ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสด ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ ตำรับที่ 4 ใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12
                  อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน ตำรับที่ 5 ใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับ
                  น้ำหมักชีวภาพ ตำรับที่ 6 ใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสด และน้ำหมักชีวภาพ ตำรับที่ 7
                  ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน  ตำรับที่ 8 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์
                  คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ  และตำรับที่ 9 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อ
                  ไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสดและน้ำหมักชีวภาพ  การใส่ปุ๋ยแต่ละตำรับการทดลองจะใส่  2  ครั้ง  ช่วงที่ข้าวโพดหวานมีอายุ
                  20  วันและ  40  วัน
                         ผลการศึกษาพบว่า การใส่ปุ๋ยหมัก พด.1  ปุ๋ยชีวภาพ พด.12  และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมีผลต่อการ
                  เปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน หลังการทดลองค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปีที่ 1 ระดับ
                  ค่าความกรดเป็นด่างของดินอยู่ในระดับกรดจัด มีค่าอยู่ระหว่าง  4.67 – 5.60 หลังการทดลองปีที่ 2 ค่าความเป็นกรด

                  เป็นด่างดินของแนวโน้มลดลง  แต่ยังอยู่ในระดับกรดจัด  มีค่าอยู่ระหว่าง 5.23 – 5.57 ตำรับการทดลองที่ 1, 4 และ
                  ตำรับการทดลองที่ 7 เป็นตำรับการทดลองที่มีสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน  พบว่าการสับตอซังข้าวโพดทำให้ดินมี
                  ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) ปริมาณแคลเซียม (Ca) และปริมาณแมกนีเซียม (Mg) ในดินเพิ่มขึ้น  และหลังการทดลอง
                  พบว่า ดินมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Available P) ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (Available K)
                  ลดลงทุกตำรับการทดลอง   การเจริญเติบโตพบว่ามีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ  ปีที่ 1 ตำรับการทดลอง
                  ที่ 4  การใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน ให้ความสูงต้นสูงที่สุด
                  201.42 ซม. แต่ในการทดลองปีที่ 2 พบว่า ตำรับการทดลองที่ 1 การใส่ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับ

                  สับกลบตอซังข้าวโพดหวาน ให้ค่าความสูงต้นสูงที่สุดเท่ากับ 130.27 ซม. ตำรับการทดลองที่ 1, 4 และตำรับการ
                  ทดลองที่ 7 ที่การสับกลบตอซังข้าวโพดมีแนวโน้มให้ความยาวฝักยาวกว่าตำรับการทดลองอื่น ๆ  และการใส่ปุ๋ยหมัก
                  พด.1, ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ไม่มีผลต่อขนาดเส้นผ่าศูนย์ฝักข้าวโพดหวาน  การใส่ปุ๋ยหมักพด.
                  1 และปุ๋ยชีวภาพ พด.12 มีแนวโน้มให้ค่าความหวานเมล็ดสดดีกว่าตำรับการทดลองอื่น ๆ ตำรับการทดลองที่ 1 การ
                  ใส่ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน มีน้ำหนักผลผลิต(กิโลกรัมต่อไร่)และมูลค่า
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14