Page 12 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           5



                  และเพื่อให้มีการปลูกข้าวโพดหวานและมีปริมาณผลผลิตที่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคและการส่งออกทั้งยัง
                  เป็นการเพิ่มหรือขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวาน และส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหวานให้เป็นพืชเสริมรายได้ให้กับ
                  เกษตรกร และการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุจากการไถกลบต้นข้าวโพดหวานหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้
                  ผลผลิตที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีหรือทดแทนปุ๋ยเคมีเพื่อให้พื้นที่ปลูก
                  สามารถทำการเกษตรแบบยั่งยืนได้ การศึกษาวิจัยวิธีการ การผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพ
                  ที่สุด แล้วนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปแนะนำส่งเสริมให้กับเกษตรกรทั่วไปได้รับความรู้เมื่อพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มขึ้น
                  ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น เกษตรกรผู้ทำนาก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลำดับ



                                                          วัตถุประสงค์

                         1. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน ก่อนและหลังการทดลอง

                         2. เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์
                         3. เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวโพดหวานในตำรับทดลอง

                                                        การตรวจเอกสาร


                         ธาตุอาหารมีอิทธิพลต่อพืชทั้งด้านผลผลิตและคุณภาพ พืชต้องการปริมาณและชนิดของธาตุอาหารในแต่ละ
                  ช่วงของการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน โดยต้องการในปริมาณที่เพิ่มขึ้นตามส่วนของการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้น เมื่อพืช
                  เจริญเติบโตถึงช่วงหนึ่งพืชจะต้องการปริมาณธาตุอาหารคงที่ ไม่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีการใส่ลงไปอีกพืชก็ไม่สามารถดูดมา
                  ใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากพืชเจริญเติบโตเต็มที่แล้วและได้ดูดกินอาหารมาสะสมไว้มากพอแล้วทำให้เกิดการสูญเสียและ

                  ตกค้างอยู่ในดิน และหากมีปริมาณที่มากเกินไปจะก่อให้เกิดเป็นพิษได้ทำให้พืชมีลักษณะการตอบสนองผิดไปจากเดิม
                  เกิดการชะงักการเจริญเติบโตของพืช ระบบการทำงานของพืชผิดปกติ (อภิรดี, 2535)
                         แนวทางการการเพิ่มอินทรียวัตถุ
                         อินทรียวัตถุมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ทางการเกษตร การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุแก่ดินจะช่วยปรับปรุงบำรุง
                  ดินให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช วิธีการเพิ่มอินทรียวัตถุโดยทั่วไปโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก
                  ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด
                         C/N ratio เป็นปัจจัยที่บ่งชี้ว่าในการย่อยสลายสารอินทรีย์นั้นจะมีไนโตรเจนเพียงพอกับความต้องการของ

                  จุลินทรีย์และทำให้การย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ (ยงยุทธและคณะ, 2541) คาร์บอนใน
                  องค์ประกอบของวัสดุอินทรีย์เป็นแหล่งพลังงานให้กับจุลินทรีย์ ส่วนไนโตรเจนจะเป็นแหล่งให้โปรตีนในการสร้าง
                  เนื้อเยื่อของจุลินทรีย์ C/N ratio มีอิทธิพลต่อการเสื่อมสลายของอินทรียวัตถุมากเป็นอันดับหนึ่ง (ปัทมา, 2524) ค่า
                  C/N ratio สามารถนำมาใช้ประเมินความยากง่ายในการย่อยสลายของวัสดุอินทรีย์ต่างๆออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มี
                  ค่า C/N ratio แคบกว่า 100 : 1 จัดเป็นวัสดุย่อยสลายได้ง่ายและ กลุ่มที่มีค่า C/N ratio กว้างกว่า 100 : 1 จัดเป็น
                  วัสดุประเภทย่อยสลายยาก (มุกดา, 2545)
                         คำแนะนำการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ
                         1. การใช้ปุ๋ยคอกเป็นวัสดุปรับปรุงดิน ควรเลือกปุ๋ยคอกเก่าๆที่ผ่านการย่อยสลายตามธรรมชาติแล้ว ปุ๋ยคอก
                  เก่าที่สภาพแห้งแม้จะมีปัญหาการสูญเสียไนโตรเจนไม่มาก แต่ก็ควรไถกลบปุ๋ยคอกหลังใส่ลงดินทันที
                         2. การวัสดุอินทรีย์ที่มีค่า C/N ratio แคบในการทำปุ๋ยหมักจะได้ปุ๋ยหมักเร็ว ในขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักหากมี

                  การใช้ปุ๋ยคอก หรือสารเร่งบางชนิดผสมอยู่ด้วยจะช่วยให้ๆได้ปุ๋ยหมักในระยะเวลาอันรวดเร็วและมีคุณภาพ
                         3. ปุ๋ยพืชสดที่นิยมใช้เป็นพืชปรับปรุงดินส่วนใหญ่เป็นพืชตระกูลถั่ว เช่น ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า เป็นต้น เมื่อ
                  ทำการไถกลบพืชปุ๋ยสดลงดินจะได้ไนโตรเจนจากการสลายตัวของวากพืชและจากกิจกรรมของไรโซเบียมควบคู่กัน
                         4. การไถกลบตอซังหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินโดยตรง
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17