Page 15 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           8



                  บริเวณข้อมีเนื้อเยื่อเจริญ จุดกำเนิดราก ตาและรอยกาบใบ ใบประกอบด้วย กาบใบ และแผ่นใบ กาบใบจะหุ้มลำต้น
                  ส่วนแผ่นใบแผ่กางออกมีเส้นกลางใบ ดอกข้าวโพดมีช่อดอกตัวผู้เรียกว่า tassel และช่อดอกตัวเมียเรียกว่า ear อยู่บน
                  ต้นเดียวกันแต่แยกกันอยู่คนละตำแหน่งโดยช่อดอกตัวผู้อยู่ที่ส่วนยอดของลำต้นส่วนช่อดอกตัวเมียหรือฝักเกิดจากตาที่
                  มุมใบข้อที่๖นับจากใบธงลงมา ผลและเมล็ดเป็นแบบ caryopsis ที่มีเยื่อหุ้มผลติดอยู่กับเยื่อหุ้มเมล็ดมีลักษณะเป็นเยื่อ
                  บางๆใสไม่มีสี เยื่อหุ้มผลและเยื่อหุ้มเมล็ดรวมเรียกว่า hull ข้าวโพดจะสะสมแป้งไว้ในส่วนของเอนโดสเปิร์ม การสะสม
                  แป้งจะสิ้นสุดลงเมื่อข้าวโพดเติบโตถึงระยะสุกแก่ทางสรีรวิทยา โดยจะปรากฏแผ่นเยื่อสีน้ำตาล หรือน้ำตาลดำที่
                  บริเวณโคนของเมล็ด (ชูศักดิ์,2546)  พื้นที่ที่เหมาะสมต้องการปลูกข้าวโพดหวาน ควรเป็นพื้นที่ราบสม่ำเสมอ มีความ

                  ลาดเอียงไม่เกิน 5% ไม่มีน้ำท่วมขัง หากเป็นพื้นที่น้ำท่วมขังให้ทำการขุดคูยกร่องเพื่อการระบายน้ำ ดินที่เหมาะสม
                  ควรเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีอินทรียวัตถุไม่น้อยกว่า 1.5%
                  ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ไม่น้อยกว่า 40 ส่วนในล้าน
                  ส่วน มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี หน้าดินลึก 25-30 ซม.มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 5.5-6.8 อุณหภูมิที่
                  เหมาะสม ประมาณ 24-35 ํC ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ ประมาณ 1,000-1,200 มม./ปี (สถาบันพืชไร่, 2547)
                  พื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก มีพื้นที่ปลูกประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ
                  จังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ กาญจนบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม เป็นต้น ภาค

                  ตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกประมาณร้อยละ 23 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศแหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ นครราชสีมา
                  ยโสธร นครพนม บุรีรัมย์ ขอนแก่น หนองคาย อุดรธานี เป็นต้น ภาคเหนือมีพื้นที่ปลูกร้อยละ 21 ของพื้นที่ปลูกทั้ง
                  ประเทศแหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เป็นต้น ภาคกลางมีพื้นที่ปลูกร้อย
                  ละ 14 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศแหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ ปทุมธานี สระบุรี ลพบุรี และอยุธยา ภาคใต้มีพื้นที่ปลูกร้อย
                  ละ 10 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศแหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่ นราธิวาส
                  พังงา และปัตตานี และภาคตะวันออก มีพื้นที่ปลูกร้อยละ 2 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศแหล่งที่สำคัญ ได้แก่ จันทบุรี
                  สระแก้ว ชลบุรี และระยอง (กรมวิชาการเกษตร, 2547)
                  ตารางที่ 3 การใส่ปุ๋ยข้าวโพดหวานตามอัตราของค่าวิเคราะห์ดิน
                  ค่าวิเคราะห์ดิน                                            อัตราปุ๋ยที่ใส่ (กิโลกรัมต่อไร่)

                  ข้าวโพดหวาน
                  OM.%                          1 < 1-2 > 2                 N                 30     20         10
                  P (มก./กก.)                 10 < 10-15 > 15             P2O5              10     10-5     5-0
                  K (มก./กก.)                60 < 60-100 > 100             K2O              10     10-5     5-0
                         (กรมวิชาการเกษตร, 2548)

                         ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่มีองค์ประกอบของอินทรีย์สารตามธรรมชาติที่ได้จากซากพืช ซากสัตว์ สิ่งขับถ่าย
                  ของสิ่งมีชีวิตและพวกอินทรีย์สารที่เป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร ปุ๋ยอินทรีย์มีคุณสมบัติในการ
                  ปรับปรุงสมบัติของดิน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศดีขึ้น ช่วยอุ้มน้ำดีขึ้น ปรับ
                  สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เป็นกลาง ลดความเป็นพิษของโลหะหนัก ช่วยเก็บและปลดปล่อยธาตุ
                  อาหารให้เป็นประโยชน์กับพืช ลดอัตราการชะล้างพังทลายของดิน ส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน เป็นตัวเพิ่ม

                  ปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดินและเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น (กรมวิชาการเกษตร
                  ,2551)
                         ปุ๋ยชีวภาพ เป็นวัสดุหรือสารที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตเป็นตัวดำเนินกิจกรรม ให้ธาตุอาหารแก่พืช
                  หรือทำให้ธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เปลี่ยนเป็นรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้
                  เพิ่มขึ้น เช่น ไรโซเบียมสร้างปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่พืชตระกูลถั่ว จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตช่วยทำให้หินฟอสเฟตหรือ
                  ฟอสเฟตที่ถูกยึดตรึงอยู่ในดินให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้เพิ่มขึ้น (กรมวิชาการเกษตร, 2551)
                  หรือเป็นปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีคุณสมบัติพิเศษ สร้างธาตุอาหารพืชได้เองหรือสามารถเปลี่ยนธาตุ

                  อาหารที่อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ (ทัศนีย์และคณะ, 2550)
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20