Page 13 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           6



                         5 ตอซังที่ไถกลบควรทิ้งไว้สักระยะหนึ่งเพื่อให้เกิดการย่อยสลายก่อนทำการปลูกพืช เช่น ตอซังข้าวโพดและ
                  พืชตระกูลถั่ว ใช้เวลาประมาณ 15 วัน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2549)
                         อินทรียวัตถุมีอิทธิพลต่อคุณสมบัติของดินทั้งทางกายภาพ ทางชีวภาพ และทางเคมี มีผลต่อความอุดม
                  สมบูรณ์ของดินและการเจริญเติบโตของพืช การทำการเกษตรอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีการเพิ่มเติมอินทรียวัตถุให้กับดิน
                  จะเป็นสาเหตุให้ดินเสื่อมโทรมและผลผลิตของดินลดลง วิธีการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินได้แก่ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในรูป
                  ของปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด และเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม จึงมีผลพลอยได้จากกิจกรรม
                  ทางการเกษตรที่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการเพิ่มพูนอินทรียวัตถุให้แก่ได้เป็นอย่างดี (พัชรี, 2549)

                  ตารางที่ 1 ค่า C/N ratio ของวัสดุอินทรีย์บางชนิด
                  วัสดุอินทรีย์          ค่า C/N ratio
                  มูลวัว                 13 – 17
                  มูลควาย                12 – 23
                  มูลหมู                 14 – 16
                  มูลเป็ด                17 – 29

                  ซากพืช                 13
                  ฟางข้าว                80 – 125
                  ต้นข้าวโพด             60
                  ชานอ้อย                140 – 190
                  ขี้เลื่อย              200 – 400
                  ผักตบชวา               34
                  เปลือกถั่วลิสง         75
                  ขุยมะพร้าว             167
                  แกลบ                   152
                  ต้นปอกระเจา            115

                  เปลือกมันสำปะหลัง      58
                  ไส้ปอเทือง             52
                  ต้นหญ้าขน              35
                  ต้นถั่วอ่อน            20
                  ต้นถั่วแก่             40
                    ที่มา: ชัยทัศน์ (2536) ; คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา (2541) ; วิเชียร (2541) และมุกดา (2545)

                         คุณสมบัติของกลุ่มชุดดินที่ 26 เป็นดินลึกถึงลึกมาก เนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนปน
                  ทราย ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินทรายปนดินร่วน หรือดินเหนียว มีสีแดงหรือสีแดงเข้ม สีน้ำตาล สีน้ำตาลปนเทา สี
                  น้ำตาลปนเหลือง สีน้ำตาลปนแดง ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทราย มีสี
                  น้ำตาล สีน้ำตาลปนเหลือง สีน้ำตาลปนแดง สีแดงปนเหลือง สีแดง สีแดงเข้มหรือสีน้ำตาลปนเทาและมีสีปนสีแดง
                  คล้ายจุดประอยู่ทั่วไป อาจพบชั้นหินแกรนิตผุที่ความลึกระหว่าง 500-100 ซม. มีการระบายน้ำดี การไหล่บ่าของน้ำ
                  บนผิวดินปานกลางถึงเร็ว น้ำซึมผ่านได้ปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงกรดรุนแรงมาก (pH 4.5-6.5) มี
                  ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
                         ชุดดินลำภูรา (Lamphu La series : Ll)จัดอยู่ใน fine, mixed, semiactive, isohypertermic Typic
                  Palehumults เกิดจากการพัดพามาทับถมของวัตถุเคลื่อนย้ายพวกหินตะกอนเนื้อละเอียด ส่วนใหญ่เป็นหินดินดาน
                  หรือหินตระกูลเดียวกัน บนลานตะพักลำน้ำ สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความ

                  ลาดชัน 14 เปอร์เซ็นต์ ชุดดินนี้เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ำดี คาดว่าดินมีความสามารถให้น้ำซึมผ่านปานกลาง มี
                  การไหลบ่าของน้ำบนผิวดินปานกลาง ตามปกติแล้วระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึกกว่า 1 เมตร ตลอดปี
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18