Page 17 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          10



                  ช่วยย่อยสลายจะทำให้พืชสามารถนำโพแทสเซียมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้พืชไร่ พืชสวนและไม้ผลมี
                  คุณภาพผลผลิตที่ดีขึ้น (มุกดา, 2545)
                         จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุอื่นๆเช่น ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมได้แก่ เหล็ก,สังกะสี ซึ่งจะมีอยู่ในดินในสภาพ
                  ที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ การใช้จุลินทรีย์เข้าช่วยย่อยสลายสามารถทำให้ได้ธาตุอาหารที่มีในดินเหล่านี้มาเป็น
                  ประโยชน์แก่พืชได้เพิ่มขึ้น จุลินทรีย์พวก Silicate bacteria สามารถช่วยให้พืชนำซิลิเกตไปใช้ได้ แร่ธาตุที่มีอยู่ในดิน
                  จะสามารถถูกทำลายโดยกรดที่เกิดจากการหมักของจุลินทรีย์ได้ (มุกดา, 2545)
                         จุลินทรีย์ที่สร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือฮอร์โมนพืชคือจุลินทรีย์ Azotobacter sp.,Azospirillun

                  sp.และ.Bacillus sp.ฮอร์โมนที่สร้างได้แก่ ออกซิน,จิบเบอเรลลินและไซโตไคนิน ช่วยกระตุ้นการเจริญของรากขน
                  อ่อนและช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวรากทำให้ความสามารถในการดูดน้ำธาตุอาหารเพิ่มมากขึ้น
                                วัสดุขยายเชื้อปุ๋ยชีวภาพ พด.12 (วัสดุสำหรับการขยายเชื้อ)
                                1 ปุ๋ยหมัก                          300 กิโลกรัม
                                2 รำข้าว                               3 กิโลกรัม
                                3 ปุ๋ยชีวภาพ พด.12                  100 กรัม (1 ซอง)
                         วิธีการขยายเชื้อ

                         1 ผสมปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และรำข้าวน้ำ 1 ปี๊บ (20 ลิตร) คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
                         2 รดสารละลายปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ลงบนกองปุ๋ยหมักและคลุกเคล้าให้เข้ากันปรับความชื้นให้ได้ 70%
                         3 ตั้งกองปุ๋ยหมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีความสูง 50 ซม.และใช้วัสดุคลุมกองปุ๋ยเพื่อรักษาความชื้น
                         4 กองปุ๋ยหมักไว้ในที่ร่มเป็นระยะเวลา 4 วัน แล้วจึงนำไปใช้
                         การใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 มีประโยชน์ในการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ 25-30 % เพิ่มความเป็นประโยชน์
                  ของฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียมในดิน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ช่วยสร้างสมดุลของธาตุอาหารพืช ช่วยเพิ่ม
                  ผลผลิตพืชและลดต้นทุนการผลิต (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                         ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรไนโตรเจน เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักวัสดุอินทรีย์และอนินทรีย์ธรรมชาติ
                  ทางการเกษตรมีปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชสูง ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์จนสมบูรณ์
                  และแปรสภาพธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและมีประโยชน์ด้านอื่นๆเช่นเป็นแหล่งธาตุอาหารรองและ

                  จุลธาตุ,มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช,มีการปลดปล่อยธาตุแก่พืชอย่างช้าๆทำให้ลดการสูญเสียธาตุอาหารการ
                  ผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจะช่วยให้การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ได้ตรงความต้องการของพืชในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตซึ่งจะทำ
                  ให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                         การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรไนโตรเจน
                         - ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมเท่ากับ 4.0-5.0, 3.0-4.0 และ1.0-2.0 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
                          ส่วนผสมที่ใช้ในการผลิต ปริมาณ 100 กิโลกรัม
                          1. กากเมล็ดถั่วเหลืองหรือปลาป่น                   60 กิโลกรัม

                          2. มูลสัตว์                                       40 กิโลกรัม
                          3. สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 จำนวน                       1 ซอง
                          4. สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวนที่ขยายเชื้อในกากน้ำตาล 25-30 ลิตร
                          ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรไนโตรเจน
                          1. ผสมการเมล็ดถั่วเหลืองหรือปลาป่นและมูลสัตว์ ตามส่วนผสมให้เข้ากัน
                          2. นำสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 จำนวน 1 ซองเทลงในสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่ขยายเชื้อแล้วจำนวน 25-30 ลิตร
                  คนประมาณ 5-10 นาทีนำไปรดบนกองวัสดุที่ผสมในข้อ 1 คลุกเคล้าให้ถั่วกองเพื่อให้ความชื้นสม่ำเสมอทั่วทั้งกอง
                          3. ตั้งกองปุ๋ยเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าให้มีความสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตรแล้วใช้วัสดุคลุมกองให้มิดชิดเพื่อ
                  รักษาความชื้นในกองปุ๋ยระหว่างการหมัก

                          4. กลับกองปุ๋ยทุก 5 วัน และควบคุมความชื้นในระหว่างการหมัก 50-60 เปอร์เซ็นต์
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22