Page 16 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           9



                  หรือการนำจุลินทรีย์มาใช้ในการปรับปรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ ทางชีวเคมีและการย่อยสลายสาร
                  อินทรียวัตถุ พืช จากอินทรีย์หรือจากอนินทรียวัตถุ (มุกดา, 2545)
                         ปุ๋ยหมัก พด.1 หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการนำซากพืชหรือเศษเหลือจากพืช เช่น ทะลาย
                  ปาล์ม,ขี้เลื่อย, เปลือกถั่ว เป็นต้น มาหมักรวมกันและผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ Actenomycese
                  ย่อยสลายสารประกอบเซลลูโลสและจุลินทรีย์ประเภท Bacteria ย่อยสลายสารประกอบไขมันทำให้ได้ปุ๋ยหมักที่มี
                  คุณสมบัติปรับปรุงดินให้ร่วนซุย มีการระบายอากาศและการอุ้มน้ำดีขึ้นเพิ่มธาตุอาหารหลักธาตุอาหารรอง ดูดยึด
                  ธาตุอาหารไม่ให้ถูกชะล้างและเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน(กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) จากการทดลองของ

                  วรรณลดาและคณะ(2532) ในชุดดินปากช่องพบว่า การใส่ปุ๋ยหมักตั้งแต่ อัตรา 4 ตัน/ไร่ มีผลทำให้ปริมาณธาตุ
                  อาหารในดินเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณฟอสฟอรัสในดินและทำให้ระดับความชื้นและค่าความเป็นกรดเป็น
                  ด่างของดินสูงขึ้น (เจริญและคณะ, 2540)
                         การผลิตปุ๋ยหมัก พด.1 มีส่วนผสมของวัสดุในการกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน คือ
                           1.เศษพืชแห้ง                      1,000 กิโลกรัม
                           2.มูลสัตว์                        200 กิโลกรัม
                           3.ปุ๋ยไนโตรเจน             2 กิโลกรัม หรือน้ำหมักชีวภาพจากปลา 10 ลิตร

                           4.สารเร่ง พด.1                    1 ซอง
                         ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตสร้างอาหาร ธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหาร
                  เป็นประโยชน์กับพืชมาใช้ปรับปรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพและทางชีวเคมี ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมาก
                  ขึ้นและสร้างฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุไนโตรเจน จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุ
                  ฟอสฟอรัส จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุโพแทสเซียมและจุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมนและสารเสริมการเจริญเติบโต
                         จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุไนโตรเจนมี 2 กลุ่มคือจุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกับพืชได้แก่ไรโซเบียมเป็นจุลินทรีย์ที่มี
                  ประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนสูงมากสามารถทดแทนไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีได้โดยให้กับพืชอาศัยมากกว่า 50
                  เปอร์เซ็นต์ (กรมวิชาการเกษตร, 2548) และจุลินทรีย์ที่อยู่อย่างอิสระได้แก่ Azotobecter sp.,Azospirillum sp.และ
                  Bacillus sp. เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศและเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแอมโมเนียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                  โดยกิจกรรมเอนไซม์ไนโตรจีเนส (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)

                         จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสมี 2 กลุ่มคือจุลินทรีย์ที่ช่วยดูดซับธาตุฟอสฟอรัสให้กับพืชได้แก่ ไมโครไรซ่าซึ่ง
                  เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในรากพืชแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันมี 2 ชนิดคือ วี-เอไมโครไรซ่าและเอ็คโคไมโครไรซ่าเป็น
                  จุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวรากและชอนไชเข้าไปในดินได้สัมผัสกับธาตุฟอสฟอรัสและจะดูดธาตุนี้โดยตรงแล้วถ่ายทอด
                  ต่อไปยังรากพืชซึ่งจะช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้อย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) นอกจากนี้เชื้อราไม
                  โคไรซ่ายังช่วยป้องกันไม่ให้ธาตุฟอสฟอรัสที่ละลายออกมาถูกตรึงโดยปฏิกิริยาทางเคมีของดินด้วยเพราะเชื้อรานี้จะ
                  ช่วยดูดซับเก็บไว้ในโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า อาบัสกูลและเวสิเคิลที่อยู่ในเซลล์พืช (มุกดา, 2545) จุลินทรีย์ที่ละลาย
                  สารประกอบฟอสเฟต โดยทั่วไปประเทศไทยมีปริมาณฟอสเฟตที่ละลายออกมาได้น้อยจุลินทรีย์กลุ่มนี้สามารถเพิ่ม

                  ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสจากหินฟอสเฟตให้เป็นประโยชน์ได้เช่น Bacillus sp.,pseudomonas
                  sp.,Aspergillus sp.เป็นต้น (กรมวิชาการเกษตร, 2548) และการที่จะให้หินฟอสเฟตละลายได้ดีจะต้องทำให้เกิด
                  สภาพกรดซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะผลิตกรดออกมาละลายฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ (มุกดา, 2545)
                         จุลินทรีย์ที่ให้ธาตุโพแทสเซียมเป็นจุลินทรีย์ที่ปลดปล่อยกรดอินทรีย์เช่นกรดแลคติค,กรดซิตริค,กรดออกซา
                  ลิคเป็นต้นหรือกรดอนินทรีย์เช่นกรดคาร์บอนิค,กรดไนตริคและกรดซัลฟูริคเป็นต้น ช่วยละลายแร่และวัตถุต้นกำเนิด
                  ดินที่มีโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบ จุลินทรีย์ที่สามารถปลดปล่อยกรดออกมาละลายแร่อะลูมิโนซิลิเกตเช่น Bacillus
                  sp. Pseudomonas sp.,Aspergillus spและPenicilium sp.โดยละลายได้จากแร่ในกลุ่มไมก้าและกลุ่มเฟลด์สปาร์ให้
                  อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) หรือการที่จะทำให้โพแทสเซียมอยู่ในลักษณะที่
                  นำไปใช้ได้มี 3 วิธีคือการสลายทางกายภาพ ทางเคมีและทางอินทรีย์ ซึ่งทำได้โดยการใช้จุลินทรีย์พวกแบคทีเรียเข้า
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21