Page 14 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา Effect of bio-organic fertilizers on change for soil properties in sandy soils to increase sweet corn yield at Songkhla province.
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                   12




                     ทั้งหมดนี้มีการเจริญเติบโตในระยะเวลาอันสั้นๆ ขณะข้าวโพดเป็นต้นกล้าและจะตายไปเมื่อต้นข้าวโพดโตขึ้น
                     รากส่วนที่สองคือรากที่เจริญจากล าต้นเรียกว่า adventiticus root มีจุดก าเนิดรากที่ข้อส่วนล่างของล าต้น

                     ข้อแรกที่เกิดรากชนิดนี้คือ coleoptilar node รากเหล่านี้จะเจริญอยู่ตลอดชีวิตของข้าวโพดซึ่งแผ่กระจายรอบ

                     ล าต้นแต่ไม่มีรากแก้ว ล าต้นประกอบด้วยข้อและปล้อง บริเวณข้อมีเนื้อเยื่อเจริญ จุดก าเนิดราก ตาและรอย
                     กาบใบ ใบประกอบด้วย กาบใบ และแผ่นใบ กาบใบจะหุ้มล าต้น ส่วนแผ่นใบแผ่กางออกมีเส้นกลางใบ

                     ดอกข้าวโพดมีช่อดอกตัวผู้เรียกว่า tassel และช่อดอกตัวเมียเรียกว่า ear อยู่บนต้นเดียวกันแต่แยกกันอยู่

                     คนละต าแหน่งโดยช่อดอกตัวผู้อยู่ที่ส่วนยอดของล าต้น ส่วนช่อดอกตัวเมียหรือฝักเกิดจากตาที่มุมใบข้อที่ ๖
                     นับจากใบธงลงมา ผลและเมล็ดเป็นแบบ caryopsis ที่มีเยื่อหุ้มผลติดอยู่กับเยื่อหุ้มเมล็ดมีลักษณะเป็นเยื่อ

                     บางๆใสไม่มีสี เยื่อหุ้มผลและเยื่อหุ้มเมล็ดรวมเรียกว่า hull ข้าวโพดจะสะสมแป้งไว้ในส่วนของเอนโดสเปิร์ม

                     การสะสมแป้งจะสิ้นสุดลงเมื่อข้าวโพดเติบโตถึงระยะสุกแก่ทางสรีรวิทยา โดยจะปรากฏแผ่นเยื่อสีน ้าตาล หรือ
                     น ้าตาลด าที่บริเวณโคนของเมล็ด (ชูศักดิ์, 2546)  พื้นที่ที่เหมาะสมต้องการปลูกข้าวโพดหวาน ควรเป็นพื้นที่

                     ราบสม ่าเสมอ มีความลาดเอียงไม่เกิน 5% ไม่มีน ้าท่วมขัง หากเป็นพื้นที่น ้าท่วมขังให้ท าการขุดคูยกร่องเพื่อการ

                     ระบายน ้า ดินที่เหมาะสมควรเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง มี
                     อินทรียวัตถุไม่น้อยกว่า 1.5% ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน และโพแทสเซียมที่

                     แลกเปลี่ยนได้ไม่น้อยกว่า 40 ส่วนในล้านส่วน มีการระบายน ้าและถ่ายเทอากาศดี หน้าดินลึก 25-30 ซม. มีค่า

                     ความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 5.5-6.8 อุณหภูมิที่เหมาะสม ประมาณ 24-35 ํ C ปริมาณน ้าฝนกระจาย
                     สม ่าเสมอ ประมาณ 1,000-1,200 มม./ปี (สถาบันพืชไร่, 2547) พื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานส่วนใหญ่อยู่

                     ทางภาคตะวันตก มีพื้นที่ปลูกประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ จังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกที่ส าคัญ

                     ได้แก่ กาญจนบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม เป็นต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกประมาณ
                     ร้อยละ 23 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ แหล่งปลูกที่ส าคัญ ได้แก่ นครราชสีมา ยโสธร นครพนม บุรีรัมย์

                     ขอนแก่น หนองคาย อุดรธานี เป็นต้น ภาคเหนือมีพื้นที่ปลูกร้อยละ 21 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ แหล่งปลูกที่

                     ส าคัญ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เป็นต้น ภาคกลางมีพื้นที่ปลูกร้อยละ 14 ของ
                     พื้นที่ปลูกทั้งประเทศ แหล่งปลูกที่ส าคัญ ได้แก่ ปทุมธานี สระบุรี ลพบุรี และอยุธยา ภาคใต้มีพื้นที่ปลูกร้อยละ

                     10 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ แหล่งปลูกที่ส าคัญ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่ นราธิวาส

                     พังงา และปัตตานี และภาคตะวันออก มีพื้นที่ปลูกร้อยละ 2 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ แหล่งที่ส าคัญ ได้แก่
                     จันทบุรี สระแก้ว ชลบุรี และระยอง (กรมวิชาการเกษตร, 2547)

                            ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากการย่อยสลายอินทรียวัตถุทางชีวเคมีโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน

                     จนเป็นประโยชน์ต่อพืชหรือเป็นปุ๋ยท าจากวัสดุอินทรีย์มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ส าหรับการเจริญเติบโตของ
                     พืช หรือเป็นปุ๋ยที่ได้หรือท ามาจากวัสดุอินทรีย์ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีท าให้ชื้น สับ หมัก บด ร่อน สกัด หรือวิธีอื่น

                     และวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ (กรมวิชาการเกษตร, 2551)

                     หรือเป็นสารประกอบที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบและเป็นสารปรับปรุงบ ารุงดินท าให้ดินมีคุณสมบัติทาง
                     กายภาพดีขึ้น (มุกดา,2545) หรือเป็นปุ๋ยที่ได้จากการบ่มหมักสารอินทรีย์ ของเสีย เศษวัสดุเหลือใช้ทาง

                     การเกษตร เช่น มูลวัว,มูลไก่,เศษพืชหลังการเก็บเกี่ยว,มูลค้างคาว เป็นต้น
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19