Page 17 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา Effect of bio-organic fertilizers on change for soil properties in sandy soils to increase sweet corn yield at Songkhla province.
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                   15




                                3. ตั้งกองปุ๋ยหมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีความสูง 50 ซม.และใช้วัสดุคลุมกองปุ๋ยเพื่อรักษา
                                   ความชื้น

                                4. กองปุ๋ยหมักไว้ในที่ร่มเป็นระยะเวลา 4 วัน แล้วจึงน าไปใช้

                            การใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 มีประโยชน์ในการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ 25-30 % เพิ่มความเป็น
                     ประโยชน์ของฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียมในดิน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ช่วยสร้างสมดุลของธาตุอาหาร

                     พืช ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชและลดต้นทุนการผลิต (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)

                            ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรไนโตรเจน เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักวัสดุอินทรีย์และอนินทรีย์
                     ธรรมชาติทางการเกษตร มีปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชสูง ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ย่อยสลาย

                     สารอินทรีย์จนสมบูรณ์ และแปรสภาพธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและมีประโยชน์ด้านอื่นๆ

                     เช่น เป็นแหล่งธาตุอาหารรองและจุลธาตุ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช มีการปลดปล่อยธาตุแก่พืช
                     อย่างช้าๆท าให้ลดการสูญเสียธาตุอาหารการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง จะช่วยให้การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ได้ตรงความ

                     ต้องการของพืชในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต ซึ่งจะท าให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต

                     (กรมพัฒนาที่ดิน,2551)
                            การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรไนโตรเจน (ส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน,

                     2556)  ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เท่ากับ 4.0-5.0 , 3.0-4.0 และ1.0-2.0 เปอร์เซ็นต์

                            ส่วนผสมที่ใช้ในการผลิต (สูตรไนโตรเจนสูง) ปริมาณ 100 กิโลกรัม
                                1. กากเมล็ดถั่วเหลืองหรือปลาป่น   60    กิโลกรัม

                                2. มูลโค                        40     กิโลกรัม

                                3. สารเร่งซุปเปอร์ พด.1         100   กรัม (1 ซอง)
                                4. สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่ขยายเชื้อในกากน ้าตาล 26-30 ลิตร

                            วิธีท า : ผสมกากเมล็ดถั่วเหลืองหรือปลาป่นและมูลสัตว์ ตามส่วนผสมให้เข้ากัน น าสารเร่งซุปเปอร์

                     พด.1 จ านวน 1 ซอง เทลงในสารเร่งซุปเปอร์ พด.2  ที่ขยายเชื้อแล้ว จ านวน 26-30 ลิตร  คนประมาณ 5-10
                     นาที น าไปรดลงบนกองวัสดุที่ผสมไว้ข้างต้น คลุกเคล้าให้ทั่วกองเพื่อให้ความชื้นสม ่าเสมอทั่วทั้งกอง (ความชื้น

                     ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์) ตั้งกองปุ๋ยเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ให้มีความสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร แล้วใช้วัสดุ

                     คลุมกองให้มิดชิด  เพื่อรักษาความชื้นในกองปุ๋ยระหว่างการหมัก กลับกองปุ๋ยทุก 5 วัน และควบคุมความชื้นใน
                     ระหว่างการหมัก 50-60 เปอร์เซ็นต์ หมักกองปุ๋ยหมักเป็นเวลา 10-15 วัน หรือจนกระทั่งอุณหภูมิภายในกอง

                     ปุ๋ยลดลงเท่ากับภายนอกกองปุ๋ย จึงน าไปใช้ได้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)

                            วิธีการขยายเชื้อ พด.2
                                1. เจือจางกากน ้าตาลต่อน ้าอัตราส่วน กากน ้าตาล 5 กิโลกรัมต่อน ้า 50 ลิตร

                                2. ใส่สารซุปเปอร์พด.2 จ านวน 1 ซองคนให้เข้ากัน

                                3. ปิดฝาตั้งไว้ในร่มโดยขยายเชื้อเป็นเวลา 3 วัน
                            ปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ได้จากต้นพืชและใบสดที่ปลูกเอาไว้หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ

                     โดยไถกลบในช่วงที่พืชเริ่มออกดอกจนถึงดอกบานเต็มที่ลงไปในดินและปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งเพื่อให้เกิดการ
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22